Submitted by doctor_apple on Mon, 07/20/2015 - 01:16
โดย อริยตารา
พลวัตร ทำงานเป็นพนักงานขับรถฉุกเฉินที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งใจกลางกรุงเทพมหานคร เขามีความตั้งใจในการทำงานเป็นอย่างยิ่งและยังเป็นที่รักของผู้ร่วมงานทุกๆคน เพราะพลวัตร หรือ "วัตร" ซึ่งเป็นชื่อเล่นที่เพื่อนๆเรียกกันเป็นปกติคนนี้ เป็นคนที่สนุกสนาน เฮฮา ปาจิงโกะ ได้ตลอดเวลา เขาไม่เคยแสดงออกถึงความก้าวร้าว หรือเกรี้ยวกราดให้ใครเห็น แถมยังชอบหยอกล้อ และแซวเพื่อนๆจนขำกลิ้งอยู่เสมอ
Submitted by doctor_apple on Wed, 03/19/2008 - 11:27
หลายคนคงเคยสงสัยว่าหากมีผู้ป่วยชักเกร็งอยู่ตรงหน้าจะทำการปฐมพยาบาลอย่างไรดี
Submitted by doctor_apple on Tue, 12/04/2007 - 06:45
จาก ACEP (USA) ถึงงานประชุม ACEM 2007 ที่จัดขึ้นที่ Conrad Jupiter, Gold Coast, Queensland ประเทศออสเตรเลีย
เมื่อวันที่ 25-30 พ.ย.50ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย
โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการ ACEM 07 ประเทศออสเตรเลียร่วมกับมหาวิทยาลัยรังสิตและโรงพยาบาลราชวิถี
มีตัวแทนเข้าร่วมกิจกรรม 4 คน ประกอบด้วยอาจารย์แพทย์ แพทย์สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน และแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
(อ.ไพโรจน์ เครือกาญจนา, อ.นพมณี ตันติเวชเรืองเดช, นพ.ชาติชาย คล้ายสุบรรณ และ พญ.มณฑิณี แสงเทียน)
เพื่อนำเสนอผลงานและโปสเตอร์พรีเซนเทชั่น
Submitted by doctor_apple on Thu, 11/22/2007 - 18:47
"ทำไมคนไข้เยอะมากมายขนาดนี้นะ ตรวจไม่ทันแล้ว อยากแยกร่างเป็นสิบร่างจริงๆ"
"เมื่อไหร่คุณหมอจะมาตรวจและให้ยาสักทีคะ? รอมาตั้งนานแล้ว"
"ถ้าให้นอนอยู่ตรงนี้ดิฉันทนไม่ได้หรอกนะคะ เมื่อไหร่จะให้นอนในห้องพักได้สักที"
"ฮือๆ แม่คะ ฟื้นขึ้นมาสิคะ ตื่นลืมตามามองหนูสิคะ ฮือออ แม่คะๆๆๆ แม่......"
"ไม่จริง ผมไม่ได้เป็นเอดส์ หมอโกหกผม ผมไม่เชื่อหรอก ไม่มีทางเป็นไปได้"
"ยังไงขอขอบคุณคุณหมอและคุณพยาบาลมากนะคะที่ช่วยเหลือ และดูแลเป็นอย่างดี ประทับใจจริงๆค่ะ"
Submitted by doctor_apple on Wed, 11/14/2007 - 23:34
ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS system)
“ตามวาระระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเพื่ออนาคต”(EMS Agenda for the Future)
ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS system)
หมายถึง ระบบที่มีการจัดวางอย่างเป็นระเบียบ (organized) ครอบคลุม (integrated)
เป็นไปเพื่อให้ความช่วยเหลือภาวะเร่งด่วนทางการแพทย์สำหรับบุคคลแต่ละคน เพื่อเข้าถึง (assess)
และเข้าสู่ (enter) ระบบการให้การดูแลสุขภาพในระยะเวลาอันรวดเร็ว
องค์ประกอบของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
Submitted by doctor_apple on Wed, 11/14/2007 - 23:14
คลื่นหัวใจพื้นฐานสำหรับเวชกรฉุกเฉิน
(Basic EKG for EMT)
วัตถุประสงค์
เข้าใจความหมายของคลื่นหัวใจ
สามารถอ่านคลื่นหัวใจที่ปกติได้
สามารถอ่านคลื่นหัวใจผิดปกติที่ต้องรีบรักษาได้
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ (เร็วเกินไป, ช้าเกินไป, ไม่สม่ำเสมอ)
- กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
-หัวใจหยุดเต้น
4.เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนการกู้ชีพหัวใจขั้นสูงต่อไป (ACLS : Advanced Cardiac Life Support)
Submitted by doctor_apple on Wed, 11/14/2007 - 03:34
ขณะกำลังรับเวรบ่ายวันหนึ่งในห้องฉุกเฉิน ฉันพบชายวัยประมาณ 60 ปี กำลังนอนทอดกายไม่ได้สติอยู่บนเปลนอนในมุมสังเกตอาการของห้องฉุกเฉินเพื่อรอเตียงนอนในโรงพยาบาลด้วยปัญหาเตียงเต็มซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่พบในเกือบทุกโรงพยาบาลใหญ่ๆของรัฐในเขตตัวเมือง เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยที่มีมากกว่าจำนวนเตียงที่สามารถรองรับได้ ทราบจากเวรเช้ามาว่าลุงมารับบริการที่ห้องฉุกเฉินตั้งแต่เช้าด้วยอาการปวดศีรษะมากขึ้นมา1สัปดาห์ ตอนแรกยังตื่นรู้ตัวดี สามารถพูดคุยถึงอาการต่างๆได้ แต่ในขณะนี้อาการแย่ลง เรียกไม่ได้สติ ฉันจึงให้น้องนักศึกษาแพทย์ปีหกช่วยเข็นลุงเข้าห้องดูแลผู้ป่วยหนัก ( resuscitation room) เพื่อเตรียมใส่ท่อช่วยหายใจท
Submitted by doctor_apple on Tue, 11/06/2007 - 14:39
ช่วงเย็นของวันสิ้นปีพุทธศักราช 2549 ทุก คนต่างวางแผนในการเฉลิมฉลองเทศกาลอันพิเศษนี้กันอย่างตื่นเต้นเหมือนทุกๆปี ที่ผ่านมา มองออกไปที่ถนนเห็นแสงไฟกระพริบระยิบระยับ บนตึกประดับประดาไปด้วยข้อความอวยพรปีใหม่ ช่วงเวลาแห่งความสุขซึ่งปีหนึ่งจะมีสักครั้งแบบนี้เป็นเสมือนรางวัลตอบแทน ความเหน็ดเหนื่อยที่ได้รับจากการตรากตรำทำงานในระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา ไม่มีใครคาดคิดว่าจะมีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้น
Submitted by doctor_apple on Tue, 11/06/2007 - 12:47
ชายวัยกลางคนอายุประมาณ 40 ปี ถูกเข็นเข้ามาในห้องฉุกเฉินด้วยอาการเหนื่อยหอบ
เขายังสามารถคุยโต้ตอบกับฉันเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นได้ขณะที่ฉันกำลังเข้าไปซักประวัติเพื่อเก็บรายละเอียดในการวิเคราะห์โรคของเขา
ฉันทำการตรวจร่างกาย ส่งเอ๊กซเรย์ปอด
และตรวจคลื่นหัวใจเพื่อที่จะวินิจฉัยโรคอย่างถี่ถ้วน
ขณะกำลังเขียนบันทึกประวัติและผลการตรวจอยู่นั้น
หัวใจของชายผู้นี้ได้หยุดเต้นลงอย่างกะทันหัน
ไม่มีชีพจร...........
ไม่สามารถวัดความดันโลหิต............
ไร้ซึ่งการเคลื่อนไหวขึ้นลงของหน้าอกตามการหายใจ