Submitted by doctor_apple on Mon, 07/20/2015 - 01:16
โดย อริยตารา
พลวัตร ทำงานเป็นพนักงานขับรถฉุกเฉินที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งใจกลางกรุงเทพมหานคร เขามีความตั้งใจในการทำงานเป็นอย่างยิ่งและยังเป็นที่รักของผู้ร่วมงานทุกๆคน เพราะพลวัตร หรือ "วัตร" ซึ่งเป็นชื่อเล่นที่เพื่อนๆเรียกกันเป็นปกติคนนี้ เป็นคนที่สนุกสนาน เฮฮา ปาจิงโกะ ได้ตลอดเวลา เขาไม่เคยแสดงออกถึงความก้าวร้าว หรือเกรี้ยวกราดให้ใครเห็น แถมยังชอบหยอกล้อ และแซวเพื่อนๆจนขำกลิ้งอยู่เสมอ
ภาวะเลือดออกในช่อง Anterior chamber หน้าเลนส์ เป็นอีก ภาวะบาดเจ็บที่พลาดกันได้บ่อย ทั้งการตรวจพบและแนวทางใน การรักษา การตรวจตาผู้บาดเจ็บอยู่ในขั้น Secondary survey (ใน Primary survey ดูแค่ pupil) เมื่อผู้บาดเจ็บอยู่ในท่ายืนหรือนั่ง จะเห็นเป็นระดับของเลือดจากการตกลงสู่เบื้องล่างของเม็ดเลือด แต่หากตรวจในท่านอนหงาย จะไม่เห็นระดับดังกล่าว ถ้ามีเลือด ออกไม่มาก อาจทำให้พลาดได้ง่าย จึงต้องอาศัยความช่างสังเกต,ช่างสงสัยของผู้ประเมิน แนวทางในการรักษา แยกออกตามกลไกการบาดเจ็บเป็น
ข้อบ่งชี้สำหรับการเปิดทรวงอกในห้องฉุกเฉิน เหลือเพียงไม่กี่ ข้อ ด้วยเหตุผลว่า พอทำหัตถการ เก็บข้อมูลไปสักพักก็พบ โอกาส รอดน้อยมาก ในต่างประเทศ กำหนดข้อบ่งชี้ที่ทำไว้ ดังนี้
1. Penetrating traumatic cardiac arrest ต้องมี
o Cardiac arrest โดยมีสัญญาณว่ามีชีวิตที่จุดเกิดเหตุ และใช้เวลานำส่งไม่เกิน 10 นาที
o SBP < 50 mmHg แม้จะได้ IV fluid resuscitation
o Severe shock และอาการที่สงสัย Cardiac tamponade
2. Blunt trauma ที่เกิด Cardiac arrest ในห้องฉุกเฉิน
3. สงสัยภาวะ Air embolism
มีการพูดถึง ABCD ในหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็น Basic life support, Advanced cardiac life support, Trauma, Toxicology ก็เริ่มต้นคล้าย ๆ กันคือ A- Airway, B- Breathing, C- Circulation แต่พอถึงตัว D เริ่มต่างกันไปทำให้บางครั้งเกิด ความสับสนว่า พูดถึงตัว D ที่หมายถึงอะไรกันแน่ ถ้าอย่างนั้นเรา ลองมาทำความรู้จักตัว D ตัวดีของเราว่าคืออะไรบ้าง
มีเรื่องที่น่าสนใจเยอะเกี่ยวกับ Burn เช่น
· 1% burn ที่ประเมินโดยใช้ฝ่ามือของผู้บาดเจ็บ คิดจากพื้นที่ ฝ่ามือโดยไม่รวมนิ้วมือ
· 1% burn ตามกฎ rule of nine เทียบเท่ากับบริเวณ perineum
บางคนท้วงว่าถ้าบริเวณ perineum คนไข้ใหญ่กว่า ฝ่ามือ จะคิดมากกว่า 1% ได้ไหม ก็ตอบว่า ใช้กันคนละสูตร แต่ น่าจะอนุโลมว่าประมาณ 1% ตาม rule of nine ดีแล้ว ไม่อย่าง นั้นเดี๋ยวเจอปัญหาเล็กกว่าก็ต้องเก็บมาถามอีก อย่าไปคิดลึกให้ วุ่นวายครับ
เรื่องของการถูกกัด ไม่ว่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานอย่าง งู (หลาย ชนิดบวมเฉพาะที่มาก), ตะขาบ(ปวดบวมแดงร้อนได้มาก) หรือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่าง สุนัข, แมว, หนู, ลิง กระทั่งคน (ไม่นับที่พูดเหน็บ กัดแล้วเจ็บใจ) ก็เสี่ยง ติดเชื้อด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งเชื้อโรคตัวเด่นที่เป็นสาเหตุก็ต่างกัน เช่น
· สุนัข แมวกัด เชื้อเด่นเป็น Pasteurella Multocida มักเกิดติดเชื้อลามเร็วในช่วง 1-2 วัน ถ้านานกว่านั้นที่ 3-4 วันเป็น Staphyloccus Aureus, Streptococcus species ที่ทำให้แผลบวมแดงอักเสบ โดยพบว่าแมวกัดทำให้ติดเชื้อ ได้มากกว่าเนื่องจากแผลเล็กและลึก ล้างทำความสะอาดได้ ยากกว่า
Submitted by banana057 on Wed, 01/23/2008 - 11:49
นพ.จตุพร วิจันทร์โต
บาดแผลไหม้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตหรือทุพลภาพควร ดังนั้นจึงควรมีการช่วยเหลืออย่างถูกต้องตั้งแต่ระยะแรกที่มีการบาดเจ็บ ซึ่งจะทำให้ลดอัตราการตายและความพิการได้
หลักการโดยทั่วไปในการดูแลรักษาผู้ป่วยคือ
- รีบพาผู้ป่วยออกจากบริเวณนั้น หรือรีบกำจัดสาเหตุของความร้อน
- ควบคุมอุณหภูมิร่างกายของผู้ป่วยและสิ่งแวดล้อม
- การให้สารน้ำ
- ป้องกันและรักษาผลแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
Submitted by 710 on Fri, 12/14/2007 - 02:26
ไม่รู้ว่าทุกคน เคยรู้สึกไหมว่า Trauma system คืออะไร เนื่องจากคำว่า Trauma system เป็นคำที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวันอยู่แล้วอย่างต่อเนื่อง แต่ในความเป็นจริง Trauma system ยังเป็นคำที่มีความหมายค่อนข้างกว้าง ครอบคลุม และละเอียดอ่อน
(อ่านแล้วเริ่มรู้สึกแปลก ๆ ไหมครับ ?)
ทั้งหมดที่จะเล่าสู่กันฟังในครั้งนี้ เป็น trauma system ที่มิได้แปลมาจากหนังสือเล่มไหน ๆ แต่เป็น trauma system ตามความเข้าใจของผมเอง เพราะฉะนั้น ให้ผู้อ่านถือซะว่าเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ดีกว่านะครับ อย่าเรียกว่าเป็นวิชาการเลยครับ
Submitted by patiputt on Thu, 12/13/2007 - 11:58
กายวิภาค
ความแรงกับการบาดเจ็บ
สิ่งที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ มีความสัมพันธ์กับแรงที่กระทำต่ออวัยวะนั้นๆ แรงยิ่งมาก ยิ่งทำให้เกิดการบาดเจ็บที่รุนแรงขึ้น และกินวงกว้างขึ้น
การประเมินเบื้องต้น
AMPLE :
อายุ
ประวัติการใช้ยา
ประวัติอดีต
อาหารมื้อสุดท้าย
เหตุการณ์การบาดเจ็บ
อาการและอาการแสดง
เจ็บหน้าอก อาจเจ็บมากขึ้นเวลาหายใจ หรือขยับตัว
อาจมีอาการหายใจตื้น หายใจสั้นๆ
ในบางรายที่ช็อค อาจมีอาการมึนงงศีรษะ สับสนได้