วิชาการ

CPR: ปัญหาอยู่ที่ใด?

จุดประเด็นเน้นย้ำในการทำ CPR ที่ควรรู้ คือ

1. การเปิดทางเดินหายใจด้วยวิธี Head tilt, Chin lift หรือ Chin lift, Jawthrust maneuver (กรณีสงสัย C spine injury) ร่วมกับใช้ Ambu bag บีบเพื่อ Ventilate ผู้ป่วยได้ ถือว่าขั้น A, B ใน ACLS ผ่านแล้วไม่จำเป็น จะต้องวิ่ง เตรียมอุปกรณ์ใส่ท่อช่วยหายใจและใส่ ET tube ให้ได้เป็น ลำดับแรกจึงจะถือว่าผ่าน A เหมือนอย่างที่ทำ ๆ กัน

Child abuse: ตามให้ทัน คนทำเด็ก

การทารุณกรรมเด็ก หรือ child abuse ไม่ว่าจะทางร่างกาย หรือทางเพศ ควรต้องระลึกไว้เสมอ บวกกับความช่างสังเกต ใน การดูแลเด็กที่ได้รับบาดเจ็บในห้องฉุกเฉิน เพราะถ้าพลาด เด็กจะ ถูกทำร้ายซ้ำและมีโอกาสที่ครั้งต่อไปจะรุนแรงกว่าครั้งแรก บาง ครั้งอาจหมายถึงชีวิตของเด็กเลยก็ได้ แบ่ง Child abuse เป็น

1. การทารุณกรรมทางกาย (Physical abuse) การทุบตี, จับเขย่า (Shaken baby Syndrome), จับจุ่ม ราดน้ำร้อน

2. การทารุณกรรมทางเพศ (Sexual abuse)

3. การทารุณกรรมทางอารมณ์ (Emotional abuse) เช่น ดุด่า,​ เสียดสี,​ ข่มขู่, เฉยเมย

Chain of survival: หลักฐานที่ทำให้คนไข้รอดชีวิต

วงแหวนหรือห่วงโซ่รอดชีวิตที่ถูกพูดถึงใน ACLS AHA 2005 ประกอบด้วยกระบวนการ 4 ขั้นตอน ที่จะช่วยผู้ป่วย Cardiac arrest รอดฟื้นคืนชีพจากการทำ CPR มีดังนี้

1. Early access เมื่อพบผู้ป่วย ให้ทำการประเมินแล้วติดต่อ ขอความช่วยเหลือ เพื่อรออุปกรณ์ช่วยกู้ชีพขั้นสูงต่อไป (รอขั้นตอนที่ 4) ซึ่งในเมืองไทยคือ ติดต่อหมายเลข 1669 เรียกรถพยาบาลในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน

2. Early CPR ช่วยเหลือโดยการทำ Basic life support อย่างถูกวิธี เน้นที่เริ่มทำ CPR ในช่วง 4 นาทีแรก

Burn: Tips and Tricks

มีเรื่องที่น่าสนใจเยอะเกี่ยวกับ Burn เช่น

· 1% burn ที่ประเมินโดยใช้ฝ่ามือของผู้บาดเจ็บ คิดจากพื้นที่ ฝ่ามือโดยไม่รวมนิ้วมือ

· 1% burn ตามกฎ rule of nine เทียบเท่ากับบริเวณ perineum

บางคนท้วงว่าถ้าบริเวณ perineum คนไข้ใหญ่กว่า ฝ่ามือ จะคิดมากกว่า 1% ได้ไหม ก็ตอบว่า ใช้กันคนละสูตร แต่ น่าจะอนุโลมว่าประมาณ 1% ตาม rule of nine ดีแล้ว ไม่อย่าง นั้นเดี๋ยวเจอปัญหาเล็กกว่าก็ต้องเก็บมาถามอีก อย่าไปคิดลึกให้ วุ่นวายครับ

Bite & Infection: ถูกกัดกับติดเชื้อ

เรื่องของการถูกกัด ไม่ว่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานอย่าง งู (หลาย ชนิดบวมเฉพาะที่มาก),​ ตะขาบ(ปวดบวมแดงร้อนได้มาก) หรือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่าง สุนัข, แมว,​ หนู,​ ลิง กระทั่งคน (ไม่นับที่พูดเหน็บ กัดแล้วเจ็บใจ) ก็เสี่ยง ติดเชื้อด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งเชื้อโรคตัวเด่นที่เป็นสาเหตุก็ต่างกัน เช่น

· สุนัข แมวกัด เชื้อเด่นเป็น Pasteurella Multocida มักเกิดติดเชื้อลามเร็วในช่วง 1-2 วัน ถ้านานกว่านั้นที่ 3-4 วันเป็น Staphyloccus Aureus, Streptococcus species ที่ทำให้แผลบวมแดงอักเสบ โดยพบว่าแมวกัดทำให้ติดเชื้อ ได้มากกว่าเนื่องจากแผลเล็กและลึก ล้างทำความสะอาดได้ ยากกว่า

Basic life support: บทสรุป

หัวใจของการทำ Advance cardiac life support คือการทำ Basic life support (BLS) ให้ดี ถ้าเราลองสรุปหลักง่าย ๆ (เคล็ด วิชา) ของ BLS คือ “ประเมินก่อนปฏิบัติเรียงเป็นลำดับ” ดังนี้

ประเมิน ผล ปฏิบัติ

ความรู้สึกตัว ไม่รู้สึกตัว เรียกขอความช่วยเหลือ

ทางเดินหายใจ การอุดกั้น เปิดทางเดินหายใจ

การหายใจ ไม่หายใจ ช่วยการหายใจ

คลำชีพจรที่ต้นคอ ไม่ได้ชีพจร กดหน้าอก

แต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดดังนี้

MUD PILES / A MUD PILE ตัวย่อช่วยจำในภาวะ Wide anion gap metabolic acidosis

ตรวจ Electrolyte พบว่ามี Wide anion gap metabolic acidosis หาสาเหตุการเกิดตาม MUD PILES หรือบางเล่ม ใช้ A MUD PILE ขึ้นกับว่าจะใช้ Aspirin หรือ Salicylate poisoning

M - Methanol

U - Uremia

D - Diabetic ketoacidosis

P - Phenformin, Paraldehyde

I - Isoniazid, Iron

L - Lactic acidosis ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ต้องลงหาสาเหตุกันอีกที

E - Ethylene glycol, Ethanol

S - Salicylate

Activated charcoal: พระเอกมาแล้ว

พระเอกขี่ม้าขาวมาช่วยแล้ว !! (ตรงตามสเป๊กใครหลายคน ที่ชอบ ดำ เข้ม) เพราะในการดูแลผู้ที่ได้รับสารพิษ การให้ Activated charcoal เพื่อล้างพิษผ่านทางเดินอาหารหรือทำ Gastrointestinal decontamination มีข้อสังเกต ดังนี้ 1.

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้ป่วยชักเกร็ง

หลายคนคงเคยสงสัยว่าหากมีผู้ป่วยชักเกร็งอยู่ตรงหน้าจะทำการปฐมพยาบาลอย่างไรดี

แผลไหม้ (Burn)

นพ.จตุพร วิจันทร์โต
บาดแผลไหม้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตหรือทุพลภาพควร ดังนั้นจึงควรมีการช่วยเหลืออย่างถูกต้องตั้งแต่ระยะแรกที่มีการบาดเจ็บ ซึ่งจะทำให้ลดอัตราการตายและความพิการได้

หลักการโดยทั่วไปในการดูแลรักษาผู้ป่วยคือ
- รีบพาผู้ป่วยออกจากบริเวณนั้น หรือรีบกำจัดสาเหตุของความร้อน
- ควบคุมอุณหภูมิร่างกายของผู้ป่วยและสิ่งแวดล้อม
- การให้สารน้ำ
- ป้องกันและรักษาผลแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

Pages

Subscribe to RSS - วิชาการ

Navigation