วงแหวนหรือห่วงโซ่รอดชีวิตที่ถูกพูดถึงใน ACLS AHA 2005 ประกอบด้วยกระบวนการ 4 ขั้นตอน ที่จะช่วยผู้ป่วย Cardiac arrest รอดฟื้นคืนชีพจากการทำ CPR มีดังนี้
1. Early access เมื่อพบผู้ป่วย ให้ทำการประเมินแล้วติดต่อ ขอความช่วยเหลือ เพื่อรออุปกรณ์ช่วยกู้ชีพขั้นสูงต่อไป (รอขั้นตอนที่ 4) ซึ่งในเมืองไทยคือ ติดต่อหมายเลข 1669 เรียกรถพยาบาลในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
2. Early CPR ช่วยเหลือโดยการทำ Basic life support อย่างถูกวิธี เน้นที่เริ่มทำ CPR ในช่วง 4 นาทีแรก
3. Early Defibrillation จบกระบวนการ Basic life support ที่ตัว D (ใน primary survey) คือ เปิดเครื่อง AED (Automatic external defibrillator), ติด patch, รออ่าน จังหวะคลื่นหัวใจ(แบบบี้เดอะสตาร์)แล้วทำ Defibrillation หากเครื่องสั่งให้ shock ภายใน 8 นาที
4. Early advanced care ให้การรักษาตามหลัก Advanced cardiac life support ซึ่งยังไม่พบหลักฐานว่าการให้ยา ตัวใดจะช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิต
เดิมมีการพูดถึงคำว่า Call first ที่ว่า ผู้ใหญ่ Cardiac arrest ให้โทรติดต่อหรือเรียกขอความช่วยเหลือก่อนเริ่ม CPR ในขณะที่ Call fast ใช้สำหรับเด็กหรือผู้ใหญ่ที่จมน้ำ ซึ่งต้องเน้นการช่วย CPR(แก้ไขความผิดปกติของทางเดินหายใจและการหายใจ) ก่อน โทรติดต่อหรือเรียกขอความช่วยเหลือ ซึ่งยังเป็นแนวคิดที่ใช้ได้อยู่ แม้จะดูเหมือนว่าในการอบรมไม่ค่อยได้พูดย้ำถึงสักเท่าไร แต่เมื่อ ยก Chain of Survival มากล่าวถึง ก็พบว่าคือการพูดเน้นเรื่อง Call first นั่นเอง