ข้อบ่งชี้สำหรับการเปิดทรวงอกในห้องฉุกเฉิน เหลือเพียงไม่กี่ ข้อ ด้วยเหตุผลว่า พอทำหัตถการ เก็บข้อมูลไปสักพักก็พบ โอกาส รอดน้อยมาก ในต่างประเทศ กำหนดข้อบ่งชี้ที่ทำไว้ ดังนี้
1. Penetrating traumatic cardiac arrest ต้องมี
o Cardiac arrest โดยมีสัญญาณว่ามีชีวิตที่จุดเกิดเหตุ และใช้เวลานำส่งไม่เกิน 10 นาที
o SBP < 50 mmHg แม้จะได้ IV fluid resuscitation
o Severe shock และอาการที่สงสัย Cardiac tamponade
2. Blunt trauma ที่เกิด Cardiac arrest ในห้องฉุกเฉิน
3. สงสัยภาวะ Air embolism
(Braney et.al.J.Trauma 1998;45(1):87-94;discussion 94-95) แต่ลองกลับมาดูในเมืองไทย หากเป็นในโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลศูนย์ที่ตามหาศัลยแพทย์ทรวงอกหรือศัลยแพทย์อุบัติเหตุลงมาทำได้อย่างรวดเร็ว, เปิดห้องผ่าตัดได้ฉุกเฉินสมใจ ก็ควรเปิดหากเป็น Penetrating chest injury with witness cardiac arrest แต่ในโรงพยาบาลจังหวัดคงไม่เหมาะที่จะทำ ให้ คงเหลือไว้เป็นหัตถการในความทรงจำว่าเคยได้เรียนหรือเห็นจาก VCD ที่อาจารย์เปิดให้ดูดีกว่า