Don’t do these please!: อย่าทำ...แบบนี้

มีหลายเรื่องที่ถึงแม้ว่าจะเรียนแล้ว ไปอบรมก็แล้วแต่ยังทำ พลาดกันเป็นระยะ ๆ ทั้งการประเมินและรักษา ก่อให้เกิดความ เสี่ยงของการทำงานในห้องฉุกเฉิน จึงขอยกตัวอย่างเรื่องเหล่านี้ มาช่วยเตือนความจำและช่วยบอกต่อกันสักหน่อย

o ใส่ NG tube เพื่อทำ Gastric lavage ในรายที่ได้สารกลุ่ม Hydrocarbon เช่น ยาฆ่าแมลง, น้ำมันก๊าด,​ น้ำมันเบนซิน หรือกลุ่ม Corrosive agent เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ

กลุ่ม Hydrocarbon: ถ้ากินไม่มาก ไม่ควรทำ NG lavage เพราะเพิ่มความเสี่ยงของการสำลักเกิดเป็น Aspiration pneumonitis โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ไม่ค่อยรู้สึกตัวและไม่ได้ protect airway หรือ full stomach

กลุ่ม Corrosive agent: นอกจากจะเสี่ยงเรื่อง Aspiration pneumonitis แล้วยังเสี่ยงต่อการบาดเจ็บต่อหลอด อาหารเพิ่มขึ้นด้วย บางรายทำให้เกิด Esophageal perforation

o โกนขนคิ้ว เพื่อเตรียมเย็บแผล บริเวณนี้ไม่แนะนำให้โกน เพราะขนคิ้วอาจไม่ขึ้นอีก

o ไม่ได้คลำชีพจรก่อน Splint ทำให้การประเมินไม่ครบถ้วน

o ใส่ ICD เข้าในรูแผลที่ถูกแทงบริเวณทรวงอก หากไม่ใช่ ภาวะเร่งด่วนต่อชีวิตที่ต้องรีบใส่ ควรเปิดรูใหม่ เพื่อไม่ให้ บาดเจ็บต่อบาดแผลนั้นเพิ่มขึ้น ลดโอกาสติดเชื้อ ตำแหน่งที่ แนะนำ คือ 5th intercostal space ระหว่าง Anterior และ Midaxillary line ใส่ไปตามขอบบนของกระดูกซี่โครงล่าง ส่ง Film chest x ray หลังใส่สาย ICD หากพบว่า ยังมีเลือด,​ ลมคั่งอยู่มาก ให้ตรวจดูการทำงานของสาย ICD หาก พบปัญหาว่าสาย ICD พับงอหรือใส่ไม่เข้าปอด ให้แก้ไข แต่หาก สาย ICD ยังทำงานดี พิจารณาใส่สาย ICD เส้นที่ 2 ได้ หากพบว่าเป็น Massive hemothorax คือมีเลือดออก เบื้องต้น > 1500 ml หรือออก 300 ml ต่อเนื่องกัน > 2 ชั่วโมง พิจารณาปรึกษาแพทย์ศัลยกรรมหรือศัลยกรรมทรวงอก เพื่อทำ Thoracotomy

o ฉีดยาชาที่นิ้วโดยไม่ได้ถามหรือทดสอบอาการชาก่อน ทำให้ ไม่สามารถประเมินภาวะ nerve injury จากการบาดเจ็บนั้น ได้ ซ้ำร้ายบางคนเลือกใช้ยาชาที่ผสม Adrenaline อีก

o ฟังปอดได้ปกติ ไม่ได้ยินเสียง Crepitation ทำให้พลาดการ วินิจฉัย Acute heart failure หรือ Pulmonary edema เมื่อสอบถามเทคนิคการตรวจพบว่า ผู้ป่วยนอน Stretcher แพทย์ฟังปอดเฉพาะด้านหน้า ลืมที่จะฟังด้านข้างและให้ ผู้ป่วยลุกขึ้นนั่งเพื่อฟังด้านหลัง จึงต้องย้ำว่า น้ำตกตามแรง ดึงดูดของโลก ถ้าผู้ป่วยนอนต้องฟังปอดทางด้านหลังด้วย

o ไม่ได้ถามสาเหตุ ตรวจร่างกายของผู้บาดเจ็บที่ตกจากที่สูง โดยละเอียด ไม่ควรที่จะสนใจแต่บริเวณที่บาดเจ็บเท่านั้น เช่นตรวจพบ Fracture T-L spine ร่วมกับ Fracture calcaneus เมื่อสอบถามแล้วประวัติ ผู้บาดเจ็บมีอาการ หน้ามืด เวียนศีรษะ ตรวจร่างกายพบว่าซีด,​ PR ได้ melena ตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติมเช่น ใส่สาย NG tube ทำ lavage พบ Coffee ground, ส่ง stool occult blood ได้ผล positive เปิดดูประวัติพบว่าเกิดจากการทานยาแก้ปวด NSAIDs เป็นประจำ จึงเตือนว่า ภาวะนี้ไม่ควรพลาดครับ

Navigation