จุดประเด็นเน้นย้ำในการทำ CPR ที่ควรรู้ คือ
1. การเปิดทางเดินหายใจด้วยวิธี Head tilt, Chin lift หรือ Chin lift, Jawthrust maneuver (กรณีสงสัย C spine injury) ร่วมกับใช้ Ambu bag บีบเพื่อ Ventilate ผู้ป่วยได้ ถือว่าขั้น A, B ใน ACLS ผ่านแล้วไม่จำเป็น จะต้องวิ่ง เตรียมอุปกรณ์ใส่ท่อช่วยหายใจและใส่ ET tube ให้ได้เป็น ลำดับแรกจึงจะถือว่าผ่าน A เหมือนอย่างที่ทำ ๆ กัน
2. เริ่มต้นกดหน้าอก (Chest compression) เมื่อคลำชีพจรที่ Carotid artery นาน 5-10 วินาทีไม่ได้ (ในผู้ใหญ่) หรือ Brachial artery (ในเด็ก) เหตุผลที่ต้องคลำนาน เพราะ อาจจะพลาดได้หากมี pulse ช้า ๆ และที่ไม่ให้คลำนาน เกินไปเพราะจะเสียโอกาสกดหน้าอก
3. เปลี่ยนคนกดหน้าอกทุก 2 นาทีหรือ 30:2 5 cycle เพื่อลด การด้อยประสิทธิภาพลงของการกดหน้าอกที่เกิดจาก ความเหนื่อยล้า (ทางปฏิบัติยังเห็นบางที่กดหน้าอกกัน 30 นาทีเปลี่ยนอยู่แค่ 3 - 4 รอบ)
4. เมื่อใส่ ET tube แล้วไม่ใช้คำว่า 5 cycle อีกต่อไป เพราะจะไม่หยุดกดหน้าอกเพื่อรอช่วยหายใจอีก ให้แต่ละ คนทำหน้าที่ของตนไป (กดหน้าอก 100 ครั้ง / นาที, ช่วย หายใจ 8-10 ครั้ง / นาที)
นอกเหนือจากตำแหน่งวางมือถูกต้อง,ท่าทางในการ ทำที่เน้นให้สะโพกเป็นจุดหมุน, รองคนไข้ด้วยแผ่นรอง CPR ที่เรียบและแข็งแล้ว การทำ CPR ให้มีคุณภาพ เน้น 4 ข้อ
1. Push hard, Push fast (กดให้ลึก 1/3 - 1/2 ของความ กว้างทรวงอก ในอัตรา 100 ครั้ง / นาที)
2. Allow full chest recoil between chest compressions (กดแล้วคลายมือขึ้นจากทรวงอกให้เลือดเข้าหัวใจเต็มที่ โดยไม่ยกมือขึ้นจากทรวงอกผู้ป่วย)
3. Minimize interruption (หยุดกดหน้าอกไม่เกิน 10 วินาที ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมใด ๆ ต่อไปนี้
o รอวิเคราะห์คลื่นหัวใจ
o หยุดคลำชีพจรบ่อยครั้ง
o ใส่ท่อช่วยหายใจ
o ช่วยการหายใจแต่ละครั้งนานเกินไป
o เคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น
4. Avoid hyperventilation (กรณีใส่ ET tube แล้วหลีกเลี่ยง การช่วยหายใจที่เร็วเกินไป แนะนำให้ช่วยหายใจ 8-10 ครั้ง / นาที หรือนับ 1 2 3 4 5 หรือ 1 2 3 4 5 6 แล้วค่อยบีบ) ในข้อสุดท้ายนี้พบว่าเป็นเรื่องสำคัญที่พลาดเป็นลำดับต้น ๆ เพราะการทำ hyperventilation ส่งผลเสียเรื่อง ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจ(ในช่วงคลายตัว)และสมองลดลง ทำให้ CPR ของทีมไม่ประสบผลสำเร็จ หัวหน้าทีมจึงต้องคอย ประเมินการช่วยหายใจของลูกทีมและตักเตือนให้ทำได้อย่างถูกต้อง