กายวิภาค
ความแรงกับการบาดเจ็บ
สิ่งที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ มีความสัมพันธ์กับแรงที่กระทำต่ออวัยวะนั้นๆ แรงยิ่งมาก ยิ่งทำให้เกิดการบาดเจ็บที่รุนแรงขึ้น และกินวงกว้างขึ้น
การประเมินเบื้องต้น
AMPLE :
อายุ
ประวัติการใช้ยา
ประวัติอดีต
อาหารมื้อสุดท้าย
เหตุการณ์การบาดเจ็บ
อาการและอาการแสดง
เจ็บหน้าอก อาจเจ็บมากขึ้นเวลาหายใจ หรือขยับตัว
อาจมีอาการหายใจตื้น หายใจสั้นๆ
ในบางรายที่ช็อค อาจมีอาการมึนงงศีรษะ สับสนได้
!!!จำไว้ว่า ไม่มีอาการ ไม่ได้หมายถึง ไม่มีการบาดเจ็บ!!!
การตรวจร่างกาย: การวัดสัญญาณชีพ และการวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
การตรวจอวัยวะในช่องอก
ดู :
ซีด เหงื่อแตก ช็อค
เขียว ขาดออกซิเจน
อัตราการหายใจ , ลักษณะการหายใจ ( หายใจเฮือก ,ปีกจมูกบาน ,หน้าอกบุ๋ม)
หลอดลมอยู่ตรงกลาง หรือเอียงไปด้นใดด้านหนึ่ง
หลอดเลือดดำที่คอโป่งหรือไม่
มีบาดแผลภายนอก บริเวณทรวงอกหรือไม่
เวลาหายใจ ทรวงอกสองข้าง ขยายเท่ากันหรือไม่
ฟัง : เสียงลมหายใจด้านหนึ่งเบากว่าอีกด้าน -->ลมหรือเลือดในช่องปอด
เสียงครืดคราดในปอด -->ปอดช้ำ
คลำ : คลำเบาๆ บริเวณทรวงอก เพื่อดูอาการเจ็บ คลำได้กรอบแกรบ หรือซี่โครงยุบ
เคาะ : ทำได้ยาก ณ ที่เกิดเหตุ
เคาะทึบ -->ปอดช้ำ หรือเลือดออกในช่องปอด
เคาะโปร่ง-->ลมรั่วในช่องปอด
การดูแลรักษา
กระดูกซี่โครงหัก (Rib Fractures)
- กระดูกซี่โครงซี่บนหนาและเหนียว และมีกล้ามเนื้อบริเวณไหล่และสะบัก ช่วยป้องกันไว้ ดังนั้น ถ้ามีกระดูกหัก แสดงว่าการบาดเจ็บต้องรุนแรง และอาจมีการบาดเจ็บของอวัยวะอื่นร่วมด้วยได้ เช่น การฉีกขาดของเส้นเลือดแดงใหญ่
- กระดูกซี่โครงที่พบว่าหักบ่อยที่สุดคือ ซี่ที่ 4-8 ทางด้านข้าง เนื่องจากกระดูกบาง และไม่ค่อยมีกล้ามเนื้อหุ้ม
- กระดูกซี่โครงที่หัก อาจทิ่มและทำให้เกิดการฉีกของกล้ามเนื้อ ปอด หลอดเลือด และทำให้เกิดปอดช้ำได้
- กระดูกซี่โครงหักธรรมดา ไม่ทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตในผู้ใหญ่
- กระดูกซี่โครงส่วนล่างๆหัก อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บของตับและม้ามได้
การประเมินเบื้องต้น
- ผู้ป่วยมักบ่นเจ็บหน้าอก และอาจหายใจสั้นๆ
- อาจมีหายใจเหนื่อย กดเจ็บบริเวณหน้าอก หรือคลำได้กรอบแกรบ
- สิ่งที่ต้องทำ คือวัดสัญญาณชีพ โดยเฉพาะอัตราการหายใจ และการวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
การดูแลเบื้องต้น
- ลดอาการปวด
- ประเมินผู้ป่วยเป็นระยะ เพื่อเฝ้าระวังอาการช็อคและการหายใจล้มเหลว
- ให้น้ำเกลือ (ขึ้นอยู่กับอาการผู้ป่วย และระยะเวลาที่นำส่งโรงพยาบาล)
- ให้ผู้ป่วยหายใจเข้าลึกๆ และไอ เพื่อลดการเกิดปอดแฟบ และปอดอักเสบ
- ให้ออกซิเจน และช่วยหายใจตามความจำเป็น
2. อกรวน (Flail Chest)
- กระดูกซี่โครงหัก ตั้งแต่ 2 ซี่ขึ้นไป โดยหักมากกว่า 1 ตำแหน่ง
- กระดูกทรวงอกแยกส่วน และมีปอดช้ำ
- ผู้ป่วยจะมีภาวะหายใจลำบาก จาก 2 สาเหตุ คือ อกรวน และปอดช้ำ
- จะพบว่า ในขณะหายใจเข้าทรวงอกขยาย ส่วนที่หักจะยุบตัวลงเนื่องจากความดันในปอดที่เป็นลบ ทำให้การหายใจไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ซึ่งจะมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับว่าส่วนที่หักใหญ่แค่ไหน
- ปอดที่ช้ำ ทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซแย่ลง เนื่องจากมีน้ำอยู่ในถุงลมปอด
การประเมินเบื้องต้น
- ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง และหายใจลำบาก
- ลักษณะการหายใจเร็วตื้น มีภาวะขาดออกซิเจนโดยวัดออกซิเจนปลายนิ้วได้ต่ำ หรือเขียว
- ตรวจพบกดเจ็บ และคลำได้กระดูกกรอบแกรบบริเวณที่หัก
การดูแลเบื้องต้น
- ลดอาการปวด
- ช่วยหายใจ และสังเกตอาการที่อาจแย่ลงได้
- ติดตามอัตราการหายใจ ออกซิเจนปลายนิ้ว
- ให้ออกซิเจน
- ให้น้ำเกลือ
- ถ้าจำเป็น ให้ช่วยหายใจด้วย BVM หรือการใส่ท่อช่วยหายใจ
3. ปอดช้ำ (Pulmonary Contusion)
- เกิดจากมีแผลฉีกขาด จากการกระแทก หรือบาดแผลแทงทะลุ ทำให้มีเลือดออกในถุงลมปอด เกิดเป็นปอดช้ำ ทำให้ไม่เกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซ เนื่องจากอากาศไม่สามารถผ่านเข้าไปได้
- การแลกเปลี่ยนก๊าซจะแย่ลงเรื่อยๆ เนื่องจากมีเลือดในถุงลม และของเหลวบวมในเนื้อเยื่อถุงลม
- ปอดช้ำ จะพบในผู้ป่วยที่มีอกรวนเสมอ
- เป็นภาวะที่พบบ่อยและอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
- ผู้ป่วยจะแย่ลง จนเกิดภาวะหายใจล้มเหลวได้ในช่วง 24 ชั่วโมงแรก
การประเมินเบื้องต้น
- อาการแสดงที่พบ ขึ้นกับความรุนแรง
- ควรนึกถึงภาวะนี้เสมอ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอกรวน
การดูแลเบื้องต้น
- ช่วยหายใจ
- ให้ออกซิเจน
- ติดตามอัตราการหายใจ ลักษณะการหายใจ และออกซิเจนปลายนิ้ว โดยเฝ้าระวังไม่ให้ออกซิเจนปลายนิ้วต่ำกว่า 95%
- ช่วยหายใจด้วย BVM หรือใส่ท่อช่วยหายใจเมื่อมีข้อบ่งชี้
- ถ้าไม่ได้มีภาวะความดันต่ำ ควรให้น้ำเกลือแค่พอเปิดเส้น เพราะการให้น้ำมากเกินไป จะทำให้เนื้อเยื่อบวมมากขึ้น และทำให้การหายใจและการแลกเปลี่ยนก๊าซแย่ลง
4. ลมรั่วในช่องปอด(Pneumothorax)
พบได้ 20% ของการบาดเจ็บของทรวงอกอย่างรุนแรง
- มี 3 แบบ คือ
4.1 ลมรั่วในช่องปอดธรรมดา (Simple Pneumothorax)
ผู้ป่วยมักจะให้ประวัติเจ็บหน้าอกเวลาหายใจเข้า
ฟังปอดได้ยินเสียงหายใจลดลง เคาะโปร่ง
ควรสงสัยภาวะนี้ ในผู้ป่วยทุกรายที่มีภาวะหายใจลำบาก และฟังได้เสียงหายใจลดลง
การดูแลเบื้องต้นต้องตระหนักว่า ผู้ป่วยที่เป็นลมรั่วในปอดธรรมดาทุกราย มีโอกาสกลายเป็นลมดันในช่องปอดได้ตลอดเวลา และต้องการการตรวจติดตามอย่างใกล้ชิด และเตรียมพร้อมให้การรักษาทันที
ให้ออกซิเจน
ให้น้ำเกลือ ติดตามภาวะช็อค
รีบนำส่งโรงพยาบาลที่เหมาะสม
4.2 ลมรั่วในช่องปอด แบบมีรูเปิด (Open Pneumothorax)
ส่วนใหญ่เกิดจากบาดแผลถูกกระสุนปืน ระเบิด แผลถูกแทง หรือในบางครั้งเกิดจากบาดแผลฉีกขาดจากการกระแทก เมื่อผู้ป่วยหายใจเข้าอากาศจากภายนอกผ่านทางแผลเข้าสู่ช่องเยื่อหุ้มปอดเนื่องจากความดันในช่องปอดที่เป็นลบ อากาศผ่านทางแผลเข้ามาในช่องเยื่อหุ้มปอดง่ายกว่าการหายใจเอาอากาศเข้าปอด โดยเฉพาะในบาดแผลที่มีรูเปิดขนาดใหญ่ ดังนั้นผู้ป่วยจึงหายใจแย่ลงจากการที่มีปอดแฟบจากลมรั่วในเยื่อหุ้มปอด ร่วมกับที่มีอากาศผ่านเข้าปอดน้อย
การประเมินเบื้องต้น
- ผู้ป่วยมีอาการหายใจลำบากอย่างเห็นได้ชัด
- อาจพบผู้ป่วยกระวนกระวาย หายใจเร็ว
- ชีพจรเต้นเร็ว
- มีแผลที่ผนังทรวงอก และอาจได้ยินเสียงลมดูดเข้า และอาจเห็นฟองอากาศช่วงหายใจออก
การดูแลเบื้องต้น
- ปิดแผล 3 ด้านโดยใช้ฟอยล์อลูมินัม หรือวาสลินก๊อส เพื่อป้องกันไม่ให้ลมเข้าทางบาดแผล แต่ให้ลมออกได้
- ถ้ามีข้อบ่งชี้ ก็ใส่ท่อช่วยหายใจ
- ติดตามอาการ เฝ้าระวังภาวะลมดันในช่องปอด จากการช่วยหายใจและจากการที่มีลมรั่วจากปอดที่ได้รับบาดเจ็บผ่านเข้าทางช่องเยื่อหุ้มปอด
- ถ้าผู้ป่วยหายใจแย่ลง ให้เอาผ้าปิดแผลออกเพื่อให้อากาศระบายออกได้
- ถ้าไม่ได้ผล ให้ใช้เข็มเจาะระบายลม
4.3ลมดันในช่องปอด (Tension Pneumothorax)
-เป็นภาวะเร่งด่วน อันตรายถึงแก่ชีวิต
ผู้ป่วยที่มีโอกาสเกิดภาวะลมดันในช่องปอด คือ
: ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ทรวงอก
: ผู้ป่วยที่มี/น่าจะมีภาวะลมรั่วในปอด
: ผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บที่ทรวงอกที่ได้รับการช่วยหายใจ
- ความดันในช่องอกที่เพิ่มขึ้น จะดันอวัยวะในช่องอกให้ไปอีกทางหนึ่ง ทำให้เลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจได้น้อยลง ปอดข้างที่ไม่มีลมรั่วถูกกดจากอวัยวะในช่องอก ทำให้ขยายตัวได้ไม่เต็มที่ ผู้ป่วยต้องใช้แรงมากขึ้นในการหายใจ การแลกเปลี่ยนก๊าสในปอดทำได้ไม่ดี นำไปสู่ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ และหายใจล้มเหลวได้ในที่สุด มี 2 ภาวะ คือ การหายใจที่แย่ลง และภาวะช็อค
การประเมินเบื้องต้น
ในช่วงแรก ผู้ป่วยอาจเพียงแค่บ่นเจ็บหน้าอก และหายใจตื้น เมื่อความดันในช่องเยื่อหุ้มปอดมากขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการกระวนกระวาย และหายใจลำบาก ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจมีเขียว และหยุดหายใจได้ อาการแสดงที่พบคือ หลอดลมเอียงไปอีกด้านหนึ่ง ฟังเสียงปอดได้เบาลง และเคาะโปร่ง อาการอื่นที่อาจพบได้คือ หลอดเลือดดำที่คอโป่ง คลำได้เสียงกรอบแกรบ ผู้ป่วยจะหายใจเร็วและมีหัวใจเต้นเร็วอย่างมาก มีความดันต่ำและช็อคได้
การดูแลเบื้องต้น
- สิ่งที่ต้องทำอันดับแรกคือ การระบายลม
: เปิดผ้าปิดแผลออกเป็นระยะๆ ในกรณีเป็นลมดันในช่องปอดที่เกิดต่อจาก ลมรั่วในช่องปอดแบบมีรูเปิด
: ใช้เข็มเจาะระบายลมในช่องอก ทำเมื่อ
1. การหายใจแย่ลง หรือช่วยหายใจด้วย BVM ได้ลำบากขึ้น
2. ฟังเสียงหายใจได้เบาลงข้างเดียว หรือไม่ได้ยินเสียงหายใจ
3. ช็อค ความดันตัวบน ต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท
- ส่งโรงพยาบาลที่เหมาะสมโดยเร็ว โดยให้ออกซิเจนในปริมาณสูงๆ
การใช้เข็มเจาะระบายลม
ตำแหน่งที่เจาะปอดอยู่ที่ระหว่างกระดูกซี่โครงซี่ที่ 2-3 ตรงกึ่งกลางไหปลาร้า เนื่องจากง่ายต่อการทำและการนำส่งผู้ป่วย ซึ่งต้องใช้ ไม้กระดานรองหลัง และเฝือกคอ
เจาะโดยใช้เข็มแทงน้ำเกลือเบอร์ 10-16 แทงเข้าไปจนกระทั่งมีฟองอากาศออกมา
วิธีการนี้ ทำให้เปลี่ยนจากภาวะลมดันในช่องปอด เป็นลมรั่วในปอดแบบมีรูเปิด
5. เลือดออกในช่องปอด (Hemothorax)
- เกิดเมื่อมีเลือดไหลเข้าไปในช่องเยื่อหุ้มปอด ซึ่งสามารถมีเลือดเข้าไปสะสมได้ถึง 2500-3000 ซีซี.
- ปริมาณของเลือดที่ออกในชั้นเยื่อหุ้มปอดนี้ทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงได้มากกว่าการที่ปอดฟีบ จากเลือดออกในช่องปอด
- เลือดที่ออก อาจมาจากชั้นกล้ามเนื้อของผนังทรวงอก เส้นเลือดระหว่างกระดูกซี่โครง เนื้อปอด เส้นเลือดในปอด หรือเส้นเลือดใหญ่ในช่องอก
การประเมินเบื้องต้น
- ผู้ป่วยอาจมีอาการหายใจลำบาก
- อาการที่เด่นชัดคือ เจ็บหน้าอก และหายใจตื้น
- ควรมองหาอาการแสดงของช็อค : ซีด สับสน หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว และความดันต่ำ
- ฟังได้ยินเสียงหายใจเบาลง แต่เคาะทึบ
- อาจพบร่วบกับภาวะลมรั่วในปอด ซึ่งทำให้ทางเดินหายใจและระบบไหลเวียนโลหิตแย่ลงได้
การดูแลเบื้องต้น
- สังเกตอาการเป็นระยะเพื่อเฝ้าระวังเผื่ออาการแย่ลง
- ให้ออกซิเจนปริมาณสูง
- ช่วยหายใจด้วย BVM หรือใส่ท่อช่วยหายใจถ้ามีข้อบ่งชี้
- ติดตามสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิด และให้น้ำเกลือ
- นำส่งโรงพยาบาลที่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว
6. การบาดเจ็บของหัวใจ จากการกระแทก (Blunt Cardiac Injury)
- เป็นผลมาจากแรงกระแทกที่หน้าอกทางด้านหน้า โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่มีแรงหน่วง เช่นอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์ประสานงา
- ยกตัวอย่างเช่น อุบัติเหตุรถยนต์ หน้าอกกระแทกพวงมาลัย หัวใจถูกกดระหว่างกระดูกหน้าอก(sternum) และกระดูกสันหลัง à ความดันในหัวใจห้องล่างเพิ่มขึ้นมากทันทีทันใด à หัวใจช้ำ(cardiac contusion) บางครั้งมีการบาดเจ็บของลิ้นหัวใจ(valvular injury) และหัวใจทะลุ(cardiac rupture)ได้
หัวใจช้ำ
: พบบ่อยที่สุด
: ทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ เช่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ(sinus tachycardia) อาจพบหัวใจห้องล่างบีบตัวก่อนกำหนด (PVC) หรือหัวใจสั่นพริ้ว (VT or VF) ได้
: ถ้าผนังกั้นหัวใจได้รับบาดเจ็บ อาจพบการนำไฟฟ้าผิดปกติได้ (interventricular conduction abnormalities)
: ถ้ากล้ามเนื้อหัวใจได้รับบาดเจ็บมากพอ หัวใจจะบีบตัว แย่ลง เลือดที่ออกจากหัวใจลดลง ทำให้ความดันต่ำได้(cardiogenic shock) ซึ่งไม่ดีขึ้นด้วยการให้น้ำเกลือ
ลิ้นหัวใจฉีกขาด : ทำให้ลิ้นหัวใจรั่ว
: ผู้ป่วยอาจมีอาการช็อคร่วมกับหัวใจล้มเหลวได้
หัวใจทะลุจากแรงกระแทก : พบไม่มาก เกิด < 1%
: ผู้ป่วยส่วนใหญ่เสียชีวิต ณ ที่เกิดเหตุ
: ผู้ที่รอดชีวิต จะมาด้วยเลือดออกในชั้นเยื่อหุ้มหัวใจ
การประเมินเบื้องต้น
- นึกถึงในกรณีที่กลไกการบาดเจ็บเกิดจากแรงกระแทกทางด้าหน้า ตรงกึ่งกลางทรวงอก
- ผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจตื้น อาจมีใจสั่นถ้ามีหัวใจเต้นผิดจังหวะร่วมด้วย
- ตรวจพบรอยช้ำที่กระดูกหน้าอก คลำได้กรอบแกรบ และกระดูก ขยับโยกได้ ซึ่งถ้าเป็นดังนั้น แสดงว่ากระดูกซี่โครงหักทั้งสองด้าน ทำให้เกิดการบาเจ็บเช่นเดียวกับภาวะอกรวน
- ถ้ามีลิ้นหัวใจฉีกขาด จะตรวจพบเสียงลิ้นหัวใจรั่ว มีอาการแสดงของหัวใจล้มเหลว เช่น ความดันต่ำ ฟังได้เสียงครืดคราดในปอด หลอดเลือดดำที่คอโป่ง
- อาจพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เช่น หัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นก่อนกำหนด หรือมี ST-segment ยกขึ้น
การดูแลเบื้องต้น
- นึกถึงว่าผู้ป่วยอาจมีภาวะนี้ได้ และแจ้งให้ทางโรงพยาบาลที่นำส่งทราบ
- ให้ออกซิเจนปริมาณสูงๆ
- ให้น้ำเกลือตามความเหมาะสม โดยดูจากผู้ป่วยเป็นรายๆไป
- ตรวจติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อดูภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะà สามารถพิจารณาให้ยาได้ตามความเหมาะสม
- ช่วยหายใจ หากมีข้อบ่งชี้
7. เลือดออกในเยื่อหุ้มหัวใจ (Cardiac Tamponade)
- เกิดจากการมีของเหลวในชั้นเยื่อหุ้มหัวใจในทันทีทันใด
- เนื่องจากเยื่อหุ้มหัวใจไม่ยืดหยุ่น ดังนั้น เมื่อมีของเหลวสะสม (แม้เพียงแค่ 50 ซีซี.) เยื่อหุ้มหัวใจก็ไม่ยืดออก ทำให้เกิดความดันที่สูงขึ้นในชั้นเยื่อหุ้มหัวใจ à ทำให้เลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจได้น้อยลง เลือดออกจากหัวใจน้อยลง ความดันต่ำลง และเลือดที่กลับเข้าสู่หัวใจน้อยลงเรื่อยๆทุกครั้งที่หัวใจบีบตัว เนื่องจากมีของเหลวเข้าไปสะสมในชั้นเยื่อหุ้มหัวใจเพิ่มขึ้นๆ
- อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น แต่ยังมีกระแสไฟฟ้า (PEA)ได้ ถ้ามีของเหลวสะสมในชั้นเยื่อหุ้มหัวใจมากกว่า 300 ซีซี.
- ภาวะนี้ มักเกิดจากบาดแผลแทงทะลุหัวใจ เกิดเลือดออกในชั้นเยื่อหุ้มหัวใจ แต่ในขณะเดียวกัน การที่มีความดันในชั้นเยื่อหุ้มหัวใจเพิ่มขึ้น ก็อาจทำให้เกิดการกดบริเวณหัวใจที่มีแผลทะลุ ทำให้เลือดหยุดชั่วคราว และผู้ป่วยมีชีวิตรอดได้
- กรณีที่เป็นแผลถูกยิง หรือห้องหัวใจทะลุจากแรงกระแทก จะรุนแรงกว่า และผู้ป่วยจะเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว
- ควรสงสัยภาวะนี้ ในผู้ป่วยที่มีบาดแผลแทงทะลุบริเวณช่องอกทุกราย
- ถ้าเป็นบาดแผลแทงทะลุบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้า 2 ข้างลงมาถึงชายโครง และระหว่างราวนม 2 ข้างต้องคิดถึงภาวะนี้เสมอจนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าไม่มี
การประเมินเบื้องต้น
- สงสัยในกรณีที่พบบาดแผลในตำแหน่งดังกล่าว ร่วมกับพบอาการแสดงของภาวะนี้ คือ ฟังเสียงหัวใจได้ไม่ชัด หลอดเลือดดำที่คอโป่ง และความดันต่ำ
- การตรวจร่างกายอื่นที่พบได้ คือ การวัดความดันตัวบนในช่วงหายใจเข้า และหายใจออก ได้ต่างกันมากกว่า 10-15 มิลลิเมตรปรอท
- แต่เนื่องจากการตรวจเหล่านี้ ทำได้ค่อนข้างยาก ณ สถานที่เกิดเหตุ ดังนั้น จึงควรสงสัยภาวะนี้เสมอ
การดูแลเบื้องต้น
- นำส่งโรงพยาบาลที่เหมาะสมโดยเร็วที่สุด เพื่อสามารถผ่าตัดซ่อมได้ทันท่วงที
- แจ้งให้โรงพยาบาลที่จะนำส่งทราบ เพื่อจะได้เตรียมพร้อมก่อนผู้ป่วยไปถึงโรงพยาบาล
- ให้ออกซิเจนปริมาณสูงๆ
- ให้น้ำเกลือ
- ใส่ท่อช่วยหายใจ ในกรณีที่ความดันต่ำ
- การใช้เข็มเจาะเพื่อดูดน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจออก เป็นวิธีการที่ดี สามารถยืดเวลาได้ชั่วคราวก่อนที่จะเข้าห้องผ่าตัด
8. หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองฉีกขาดจากการบาดเจ็บ(Traumatic aortic disruption)
- เกิดจากกลไกของแรงหน่วง และความเร่ง เช่น ขับมอเตอร์ไซค์ด้วยความเร็วประสานงา แล้วกระเด็นลอยไปกระแทกพื้น
- หัวใจและช่วงโค้งของหลอดเลือดแดงใหญ่เป็นส่วนที่ขยับได้ ในขณะที่หลอดเลือดแดงใหญ่ที่อยู่ต่อลงมาถูกตรึงอยู่กับที่บนกระดูกสันหลัง
- เมื่อเกิดแรงหน่วง หัวใจและส่วนโค้งของหลอดเลือดแดงใหญ่จะเคลื่อนไปข้างหน้า และเกิดแรงหมุน ทำให้มีการฉีกขาดของผนังหลอดเลือดแดงใหญ่บริเวณที่เชื่อมต่อกับส่วนโค้งของหลอดเลือดแดง
- การฉีกขาดอาจเป็นแค่บางส่วนหรือทั้งหมด ซึ่งถ้าฉีกขาดบางส่วน ผู้ป่วยอาจรอดชีวิตได้ถ้าให้การรักษาได้รวดเร็วพอ
การประเมินเบื้องต้น
- สงสัยในกรณีที่กลไกการบาดเจ็บเกิดจากการหน่วงและเร่งอย่างรุนแรง
- อาจคลำชีพจรแขนสองข้าง หรือแขนกับขาได้ไม่เท่ากัน
- การวินิจฉัยภาวะนี้ต้องอาศัยการเอ็กซเรย์ ไม่ว่าจะเป็นเอ็กซเรย์ปอด หรือเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ดูหลอดเลือดแดง และการอัลตราซาวน์หัวใจผ่านทางหลอดอาหาร
การดูแลเบื้องต้น
- ประคับประคองตามอาการ
- มองหาการบาดเจ็บในช่องอกอื่นๆที่อาจพบร่วม
- ให้ออกซิเจนปริมาณสูงๆ
- ให้น้ำเกลือ
- แจ้งโรงพยาบาลที่จะรับผู้ป่วยให้ทราบ ในกรณีสงสัยว่าอาจมีการฉีกขาดของหลอดเลือดแดงใหญ่ โดยดูจากกลไกการบาดเจ็บ
- ควรควบคุมความดันให้ความดันค่ากลางน้อยกว่าหรือเท่ากับ 70 มิลลิเมตรปรอท (ความดันตัวบน น้อยกว่าหรือเท่ากับ 90 มิลลิเมตรปรอท) เพื่อไม่ให้เลือดออกมากขึ้น โดยอาจใช้ยาลดความดันร่วมด้วย
9. หลอดลมฉีกขาด (Tracheobronchial disruption)
- พบไม่บ่อย แต่ทำให้ถึงแก่ชีวิต
- มักเกิดในบาดแผลแทงทะลุ หรือการกระแทกที่รุนแรงมากๆ
- ทำให้เกิดมีอากาศไหลผ่านจากตำแหน่งที่มีการฉีกขาด เข้าสู่เยื่อหุ้มปอดและเยื่อหุ้มอวัยวะในช่องอก นำไปสู่ลมดันในปอด และลมรั่วในชั้นเยื่อหุ้มอวัยวะในช่องอก และเยื่อหุ้มหัวใจ
- การใช้เข็มเจาะระบายลมเพื่อรักษาภาวะลมดันในปอดในกรณีนี้ไม่ได้ผล เนื่องจากยังคงมีอากาศจำนวนมากผ่านเข้าสู่เยื่อหุ้มปอดตลอดเวลา
การประเมินเบื้องต้น
- ผู้ป่วยจะอยู่ในภาวะหายใจลำบากอย่างมาก อาจพบซีดและมีเหงื่อแตก
- ตรวจพบว่าใช้กล้ามเนื้อช่วยในการหายใจ หายใจเสียงดัง ปีกจมูกบาน
- พบว่ามีลมในชั้นใต้ผิวหนัง คลำได้กรอบแกรบบริเวณคอ
- เส้นเลือดดำที่คอโป่ง หลอดลมคอไม่อยู่ตรงกลาง
- ผู้ป่วยมีอาการหายใจเร็ว และออกซิเจนปลายนิ้วต่ำ
- อาจพบหรือไม่พบความดันต่ำ และอาจมีอาการไอเป็นเลือดได้
- อาจพบเลือดออกในช่องปอดได้
การดูแลเบื้องต้น
- ให้ออกซิเจน และพิจารณาช่วยหายใจตามความเหมาะสม
- ถ้าช่วยหายใจแล้วผู้ป่วยแย่ลง อาจพิจารณาให้ออกซิเจนอย่างเดียว และรีบนำส่งโรงพยาบาลที่เหมาะสมทันที
10. ภาวะการขาดอากาศหายใจ จากการบาดเจ็บ (Traumatic asphyxia)
- เกิดจากการเพิ่มความดันในช่องอกทันทีทันใด จากการที่มีการกระแทกบริเวณทรวงอกอย่างรุนแรง
- เป็นผลให้เลือดไหลย้อนกลับจากหัวใจ ไปยังศีรษะและคอ à หลอดเลือดฝอย และหลอดเลือดดำเส้นเล็กๆแตก การทำงานของสมอง และดวงตาเสียไป
การประเมินเบื้องต้น
- จะพบว่าผู้ป่วยมีสีเขียวอมม่วงตั้งแต่เหนืออกที่ถูกทับขึ้นไป
- สีผิวส่วนที่อยู่ต่ำลงมาจะปกติ
- ควรมองหาอาการบาดเจ็บของอวัยวะอื่นๆที่กล่าวมาแล้วด้วย
การดูแลเบื้องต้น
- ประคับประคอง รักษาตามอาการ
- ให้ออกซิเจน 100%
- ให้น้ำเกลือ
- ช่วยหายใจ เมื่อมีข้อบ่งชี้
- สีผิวที่ผิดปกติจะหายไปเองใน 1 สัปดาห์
11. กะบังลมฉีกขาด (Diaphragmatic Rupture)
- บาดแผลฉีกขาดเล็กๆอาจเกิดจากบาดแผลแทงทะลุบริเวณอกและท้อง
- ไม่ทำให้เกิดอาการในทันที แต่ต้องได้รับการรักษาเพราะอาจทำให้อวัยวะในช่องท้องดันผ่านรูขึ้นมาช่องอกได้
- กะบังลมฉีกขาดจากการกระแทก เกิดจากการบาดเจ็บของช่องท้องที่รุนแรงพอ ทำให้มีความดันในช่องท้องสูงขึ้น เกิดการฉีกขาดของ กะบังลมทันทีทันใด
- บาดแผลมักจะใหญ่ และอวัยวะในช่องท้องถูกดันขึ้นมาในช่องอกทันทีทันใด ทำให้เกิดอาการหายใจลำบาก ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต และมักพบร่วมกับการบาดเจ็บอื่นๆ เช่น กระดูกซี่โครงหัก ลมรั่วหรือเลือดออกในช่องปอด และการบาดเจ็บของอวัยวะในช่องท้อง
การประเมินเบื้องต้น
- มักตรวจพบว่าผู้ป่วยมีภาวะหายใจลำบาก : กระวนกระวาย หายใจเร็ว ซีด
- อาจมีรอยช้ำที่หน้าอก คลำได้กรอบแกรบ ฟังเสียงหายใจได้เบาลงและอาจฟังได้ยินเสียงลำไส้ที่หน้าอกด้านนั้นๆ
- อาจพบท้องแฟบ ถ้าอวัยวะในช่องท้องถูกดันขึ้นไปช่องอกมากพอ
การดูแลเบื้องต้น
- ระลึกไว้เสมอว่าผู้ป่วยอาจมีภาวะนี้ได้
- ให้ออกซิเจน และช่วยหายใจถ้าจำเป็น
- นำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลที่เหมาะสมโดยเร็ว
กรณีที่ใช้เวลาเดินทางนาน
A-B-C
การเดินทางที่ยาวนาน ทำให้เราพิจารณาใส่ท่อช่วยหายใจเร็วขึ้น
เฝ้าระวังให้ออกซิเจนปลายนิ้ว อยู่ในช่วงมากกว่าหรือเท่ากับ 95%
ข้อบ่งชี้ของการใส่ท่อช่วยหายใจ ในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ทรวงอก
- หายใจลำบาก หรือหายใจล้มเหลว
- อกรวน
- ลมรั่วในปอดแบบมีรูเปิด
- กระดูกซี่โครงหักหลายซี่
4.ประเมินผู้ป่วยเป็นระยะ เพื่อมองหาอาการแสดงที่ทำให้สงสัยว่าเป็นลมดันในช่องปอด
5. กรณีตรวจพบ เสียงหายใจเบาลง หายใจแย่ลงหรือบีบ BVM ลำบากขึ้น และมีความดันตก à พิจารณาใช้เข็มเจาะระบายลม
6. พิจารณาให้น้ำเกลือเป็นรายๆไป
7. รักษาความดันตัวบน ให้อยู่ในช่วง 80-90 มิลลิเมตรปรอท
8. กรณีผู้ป่วยปวดมาก พิจารณาให้ยาระงับปวดได้ในขนาดน้อยกว่าปกติ ค่อยๆให้ทีละน้อยจนกว่าจะหายปวด และเฝ้าระวังภาวะความดันต่ำจากยา และการกดการหายใจ
9. ผู้ป่วยที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ จากการบาดเจ็บของหัวใจจากการกระแทก สามารถพิจารณาให้ยาที่ช่วยรักษาการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติได้
สรุป
การบาดเจ็บของทรวงอก มีความสำคัญมาก เนื่องจากมีผลต่อระบบหายใจ และการไหลเวียนโลหิต และเป็นการบาดเจ็บที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บหลายระบบ
ผู้ป่วยเหล่านี้ ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด และการนำส่งโรงพยาบาลที่เหมาะสมโดยเร็ว
ผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะมีการบาดเจ็บของทรวงอก ควรให้ออกซิเจน และประเมินการช่วยหายใจในผู้ป่วยทุกราย
เราจะต้องมองหาอาการแสดงของภาวะลมดันในช่องปอดเสมอ เพราะเป็นภาวะที่อันตรายถึงชีวิต และเราสามารถให้การช่วยเหลือได้ทันที ณ ที่เกิดเหตุ
เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้ มีโอกาสที่จะมีการบาดเจ็บหลายระบบ การเฝ้าระวังการบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง และการห้ามเลือดจากบาดแผล จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำผู้ป่วยควรได้รับน้ำเกลือ ระหว่างนำส่งโรงพยาบาล และควรทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในกรณีที่สงสัยว่าจะมีการบาดเจ็บของหัวใจจากการถูกกระแทก