เรื่องของการถูกกัด ไม่ว่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานอย่าง งู (หลาย ชนิดบวมเฉพาะที่มาก), ตะขาบ(ปวดบวมแดงร้อนได้มาก) หรือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่าง สุนัข, แมว, หนู, ลิง กระทั่งคน (ไม่นับที่พูดเหน็บ กัดแล้วเจ็บใจ) ก็เสี่ยง ติดเชื้อด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งเชื้อโรคตัวเด่นที่เป็นสาเหตุก็ต่างกัน เช่น
· สุนัข แมวกัด เชื้อเด่นเป็น Pasteurella Multocida มักเกิดติดเชื้อลามเร็วในช่วง 1-2 วัน ถ้านานกว่านั้นที่ 3-4 วันเป็น Staphyloccus Aureus, Streptococcus species ที่ทำให้แผลบวมแดงอักเสบ โดยพบว่าแมวกัดทำให้ติดเชื้อ ได้มากกว่าเนื่องจากแผลเล็กและลึก ล้างทำความสะอาดได้ ยากกว่า
· คนกัด เชื้อเด่น เฉพาะ เป็น Eikenella Corrodens ไม่ว่า เกิดจากจงใจกัดหรือเป็นแผลเปิด สัมผัสถูกน้ำลาย เช่น ทะเลาะวิวาทต่อยปากกันแล้วเกิดแผลที่สันหมัด (knuckle) ที่เรียกว่า Clenched หรือ Closed - fist injury (CFI), บาดแผลป้องกันตัว (Defensive wound) ในตำแหน่ง Internal (Ulna) side เช่นใช้แม่ไม้มวยไทยฟันศอกแล้วถูก ฟันคู่ต่อสู้เป็นแผลเปิด
จุดสำคัญอยู่ที่การเฝ้าระวังภาวะติดเชื้อแผลที่มีความเสี่ยงสูงเช่น
· แมวหรือคนกัด
· สุนัขกัดที่มีลักษณะต่อไปนี้
- แผลถูกกัดที่มือ
- ถูกกัดลึก, ปนเปื้อนมาก
- ถูกกัดนานกว่า 12 ชั่วโมง
- เกี่ยวข้องกับ joint หรือ tendon
- Host ไม่ดี เช่น DM, มีโรคของ Peripheral vascular disease, ใช้ยา systemic steroid
หากเป็นแผลเปิดที่ไม่ได้เลือดออกมากหรืออยู่ในจุดสำคัญ มีผลต่อความสวยงาม ก็ไม่ควรเย็บหรือถ้าจะต้องเย็บก็ล้างแผล ให้สะอาด เย็บห่าง ๆ วาง drain ไว้ ให้ยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุม เชื้อที่สงสัยป้องกันอย่างน้อย 5 วัน ทั่วไปถ้าไม่แพ้ penicillin แนะนำ Amoxicillin, Amoxicillin clavulanate, 2 nd หรือ 3 rd generation cephalosporin นัดตรวจติดตามดูบาดแผล หากพบ บริเวณไหมที่เย็บหรือขอบแผลแดงอักเสบ ควรพิจารณาตัดไหม ทำแผล ให้ยาปฏิชีวนะแบบฉีด