Submitted by pattarit_emtb on Sun, 11/18/2007 - 18:34
เราเคยตั้งข้อสังเกตกับสถานการณ์เหล่านี้บ้างไหมครับ?
น้องตั้มอายุ 8 ขวบ: ว้าว.. ดูสิ รถอะไรตามเรามาน่ะแม่ มีเสียงดังด้วย มีไฟหลายๆสีเยอะแยะเลย สวยมาก!!
คุณแม่ที่กำลังขับรถ:เหรอจ้ะลูก คงเป็นรถนำขบวนมั้งลูก เค้าอยากไปเร็วๆ ให้เราหลีกทางให้ พวกอภิสิทธิ์ชนน่ะ!!
เจ้าหน้าที่ศูนย์รับแจ้งเหตุ:ทำไมหนอ.. ทุกวันเนี่ย คนแจ้งเหตุเข้ามา 100 ครั้งจะเป็นคนโทรเล่นซะ 50 ครั้ง สอบถามเรื่องอื่นๆกับโทรผิดอย่างละอีก 20 อีก 10 ถึงเป็นเหตุเจ็บป่วยจริง แต่ใน 10 ครั้งมีแค่ครั้งเดียวที่ commander สั่งให้เราปล่อยรถออกไปช่วย!! เบื่อรับสายจังเลย
Submitted by banana057 on Sun, 11/18/2007 - 17:41
แผนกฉุกเฉิน และบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (Emergency Department and EMS)
Emergency department
– เป็นทางแรกที่รับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล
– เป็นสถานที่สำหรับ ambulatory care
– รับผู้ป่วยทุกอายุ และหลากหลายรูปแบบ โดยไม่สามารถเลือกได้ ตลอด 24 ชั่วโมง
– ผู้ป่วยส่วนหนึ่งได้มาจากระบบ EMS
ED and EMS มีหลายส่วนที่เหมือนกัน และให้การสนับสนุนซึ่งกันและกันในการดูแลผู้ป่วย
การเข้าใจถึงระบบ ER จะเพิ่มความเข้าใจถึงระบบ EMS มากขึ้น
– Organization and categorization
– Various ED designations
– Role of physicians
Submitted by doctor_apple on Wed, 11/14/2007 - 23:34
ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS system)
“ตามวาระระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเพื่ออนาคต”(EMS Agenda for the Future)
ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS system)
หมายถึง ระบบที่มีการจัดวางอย่างเป็นระเบียบ (organized) ครอบคลุม (integrated)
เป็นไปเพื่อให้ความช่วยเหลือภาวะเร่งด่วนทางการแพทย์สำหรับบุคคลแต่ละคน เพื่อเข้าถึง (assess)
และเข้าสู่ (enter) ระบบการให้การดูแลสุขภาพในระยะเวลาอันรวดเร็ว
องค์ประกอบของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
Submitted by doctor_apple on Wed, 11/14/2007 - 23:14
คลื่นหัวใจพื้นฐานสำหรับเวชกรฉุกเฉิน
(Basic EKG for EMT)
วัตถุประสงค์
เข้าใจความหมายของคลื่นหัวใจ
สามารถอ่านคลื่นหัวใจที่ปกติได้
สามารถอ่านคลื่นหัวใจผิดปกติที่ต้องรีบรักษาได้
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ (เร็วเกินไป, ช้าเกินไป, ไม่สม่ำเสมอ)
- กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
-หัวใจหยุดเต้น
4.เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนการกู้ชีพหัวใจขั้นสูงต่อไป (ACLS : Advanced Cardiac Life Support)
ในส่วนของ prehospital care แนะนำให้ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษดังนี้ ครับ
- หลักการดูแลแบ่งออกเป็น 6 step ดังนี้ครับ
1. การช่วยเหลือชีวิตเบื้องต้น (Basic life support) เน้นเรื่องของ A , B และ C
2. การประเมินผู้ป่วย รวมทั้งการซักประวัติ , การตรวจร่างกาย โดยเฉพาะ ส่วนของ vital sign , อาการและอาการแสดงที่เข้ากับสารพิษกลุ่มต่าง ๆ (หรือที่เรียกว่า Toxidrome) ครับ
Submitted by sandwhale056 on Wed, 11/14/2007 - 12:07
มาทายกันดูซิว่า ...บุคคลในภาพนี้คือใคร
บอกใบ้ให้ว่าเราได้ใช้บริการสิ่งที่เขาคิดค้นขึ้นมาบ๊อย...บ่อยใน ER คนไข้หนักๆนี่ ใช้บ่อยมาก แบบว่าไม่รู้ว่า จะให้ IV แล้วจะท่วมปอดมั้ยอะไรอย่างนี้
ทายกันนะ เดี๋ยวมาเฉลยค่ะ
Submitted by doctor_apple on Wed, 11/14/2007 - 03:34
ขณะกำลังรับเวรบ่ายวันหนึ่งในห้องฉุกเฉิน ฉันพบชายวัยประมาณ 60 ปี กำลังนอนทอดกายไม่ได้สติอยู่บนเปลนอนในมุมสังเกตอาการของห้องฉุกเฉินเพื่อรอเตียงนอนในโรงพยาบาลด้วยปัญหาเตียงเต็มซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่พบในเกือบทุกโรงพยาบาลใหญ่ๆของรัฐในเขตตัวเมือง เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยที่มีมากกว่าจำนวนเตียงที่สามารถรองรับได้ ทราบจากเวรเช้ามาว่าลุงมารับบริการที่ห้องฉุกเฉินตั้งแต่เช้าด้วยอาการปวดศีรษะมากขึ้นมา1สัปดาห์ ตอนแรกยังตื่นรู้ตัวดี สามารถพูดคุยถึงอาการต่างๆได้ แต่ในขณะนี้อาการแย่ลง เรียกไม่ได้สติ ฉันจึงให้น้องนักศึกษาแพทย์ปีหกช่วยเข็นลุงเข้าห้องดูแลผู้ป่วยหนัก ( resuscitation room) เพื่อเตรียมใส่ท่อช่วยหายใจท
ทราบหรือไม่ ว่าการ management ทาง toxico ที่ทำ ๆ กันอยู่ ยังไม่มีรายงานหรือการศึกษาสนับสนุน ซะส่วนมาก (ส่วนมากจะ controversy หรือพิสูจน์แล้วก็ยังไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ) ตัวอย่างเช่น
Submitted by ubon on Sat, 11/10/2007 - 21:45
“วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำก็นอง เต็มตลิ่ง เราทั้งหลาย ชายหญิง สนุกกันจริง วันลอยกระทง ฯลฯ” เสียงเพลงลอยกระทง ที่คนไทยทุกคนรู้จักกันดี บรรยายถึงบรรยากาศประเพณี และวิถีชีวิตของคนไทยในค่ำคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองของทุกปีได้เป็นอย่างดี
Submitted by ubon on Sat, 11/10/2007 - 21:41
บทกลอนนี้จริง ๆ เขียนเสร็จมานานเป็นปีแล้ว ซึ่งทำให้ตัวเองคันพบแนวทางที่ทำให้ทำงานกู้ชีพได้อย่างมีความสุข ตอนแรกไม่ได้คิดจะให้ใครอ่าน แต่ช่วงหลังๆ มีพยาบาลหลายคนที่ต้องรับผิดชอบงาน EMS เคยมาปรึกษาและโทรฯ มาหาบ่อย ๆ หลายคนหมดกำลังใจ หลายคนคุยไปร้องไห้ไป ซึ่งตัวเองเข้าใจความรู้สึกดี เพราะหัวอกเดียวกัน ได้แต่ให้กำลังใจ เวลานี้ จึงอยากจะนำมาให้ลองอ่านดู เพื่อเป็นกำลังใจให้กับคนทำงานทุกคนให้ต่อสู้ต่อไปค่ะ
ต่อไปนี้ คือเรื่องราว จะเล่าขาน
ประสบการณ์ ของฉัน ถึงน้องพี่
ได้สั่งสม เรื่องมากมาย มาหลายปี
Pages