ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS system)

ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS system)

“ตามวาระระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเพื่ออนาคต”(EMS Agenda for the Future)

ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS system)

หมายถึง ระบบที่มีการจัดวางอย่างเป็นระเบียบ (organized) ครอบคลุม (integrated)

เป็นไปเพื่อให้ความช่วยเหลือภาวะเร่งด่วนทางการแพทย์สำหรับบุคคลแต่ละคน เพื่อเข้าถึง (assess)

และเข้าสู่ (enter) ระบบการให้การดูแลสุขภาพในระยะเวลาอันรวดเร็ว

องค์ประกอบของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน

· กลไกการสื่อสาร เพื่อริเริ่มการให้การตอบสนองต่อความต้องการบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน (Communications mechanism to initiate a response)

· พาหนะและบุคลากรผู้ให้บริการ (Vehicle with personnel) เพื่อให้การรักษาและนำส่งผู้ป่วย

· สถานพยาบาลที่รองรับผู้ป่วย (Receiving facility)

ปรัชญาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน

· มีขึ้นเพื่อสนองความต้องการด้านการแพทย์ฉุกเฉินในระดับชุมชน เมืองใหญ่ และทั้งประเทศ

· ไม่จำเป็นต้องเป็นระบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นอย่างหรูหราลงตัว แต่ต้องเป็นระบบที่ใช้ได้กับองค์ประกอบที่มีอยู่เดิมแล้ว

· การจะเข้าไป “ควบคุม” ระบบที่เป็นอิสระ หลากหลาย เหล่านี้เป็นเรื่องที่ยากมากถ้าไม่สร้างระบบใหม่ขึ้นมาเลย ทางแก้คือ การใช้และการประสานงานทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

· ผู้ที่เป็นผู้จัดการระบบจึงต้องมีความสามารถในการจัดการงบประมาณ (funding), การทำสัญญาเจรจา (contract negotiations), และการให้บริการการแพทย์ (medical care) พร้อมๆไปกับการเข้าไปเกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบเหล่านี้ให้เข้าสู่การกำหนดเป็นตัวบทกฎหมาย หรือ พรบ.แห่งชาติ

หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน(The EMS Agency)

· “หน่วยผู้นำ” (Lead agency) มีบทบาทเป็นผู้รับผิดชอบทุกๆอย่างในระบบ เพื่อประสานงานและชี้นำองค์ประกอบทั้งหมดของระบบ หน่วยเหล่านี้มักจะมีอยู่ในชุมชน เขต หรือจังหวัดต่างๆอยู่แล้ว หรือจะเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นเป็นอิสระภายใต้ความควบคุมของกฎหมาย หรือพรบ. เพื่อจัดการระบบก็ได้

· ตัวแทนที่มีอำนาจสูงสุดนี้ควรจะเป็นผู้จัดตั้งนโยบายของระบบเพื่อเป็นหลักการที่ใช้ตรงกัน ไม่ให้เกิดข้อโต้แย้งในการทำงาน ถือเป็นอำนาจสูงสุดของระบบ

· นโยบายจะต้องยังประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย มิใช่เป็นไปเพื่อประโยชน์ทางการเมืองหรือผลประโยชน์ทางการเงิน

· หน่วยที่เป็นผู้นำระบบ (EMS Lead agency)ควรเป็นผู้จัดหาความช่วยเหลือทางเทคนิคให้แก่ EMS ท้องถิ่น เป็นผู้พัฒนาและสนับสนุนการนำระบบเข้าสู่การจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย การหลอมรวมระบบ EMS ให้เป็นหนึ่งเดียว สนับสนุนการเข้าไปมีส่วนร่วมและการควบคุมทางการแพทย์โดยตรง (direct medical involvement)ในทุกกิจกรรมของ EMS

การพัฒนาแผนแม่บท (Developing a Master Plan)

· ตัวแทนที่เป็นผู้นำระบบ (EMS Lead agency) มีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาแผนแม่บทอันได้แก่ มาตรฐานการดำเนินการสำหรับทุกองค์ประกอบของระบบ และ การจัดหาบริการให้ประชาชน

· การพัฒนาแผนควรขึ้นกับข้อมูล (input) จากผู้ให้บริการและผู้รับบริการกลุ่มใหญ่ และควรมีการรับฟังการประเมิน (feedback) จากกลุ่มด้วย

· การมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถอย่างพอเพียงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะเติมเต็มนโยบายให้ประสบผลสำเร็จได้

ปัจจัยที่จะทำให้เกิดการวางแผนและพัฒนาแผนแม่บทอย่างมีประสิทธิภาพ

· หาความต้องการของระบบ ทรัพยากรที่มีอยู่ และการให้บริการที่สามารถใช้ได้อยู่แล้วในระบบ แม้จะยังไม่มีประสิทธิภาพ เช่น อาสาสมัครกู้ภัย อาสาสมัครดับเพลิง มูลนิธิการกุศล ซึ่งเป็นกำลังที่สำคัญและไม่สิ้นเปลืองงบประมาณของระบบ

· แผนควรระบุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่เฉพาะเจาะจง

“เห็นชัด และวัดได้”

· ควรมีการพัฒนารูปแบบวิธี (method) ที่นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

· ควรมีกำหนดตารางเวลาที่ใช้ได้จริง เพื่อกำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติแผนให้สำเร็จลุล่วง

· ควรมีการกำหนดรูปแบบวิธีที่ใช้ในการประเมินผลความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

· การประเมินเงินงบประมาณที่ต้องใช้ในการบรรลุเป้าหมายและแหล่งเงินงบประมาณที่สามารถตอบสนองความต้องการที่ตั้งไว้ได้

โดยสรุป

แผนแม่บทของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินได้แก่

· การประเมินความต้องการ

· การรวบรวมข้อมูล

· การวิเคราะห์แหล่งทรัพยากรที่มีอยู่

· ตั้งขอบเขตเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง

· การพัฒนาและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ

· สร้างกิจกรรมที่ทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพอย่างยั่งยืน

· สร้างงบประมาณเงินทุนที่ใช้งานได้

องค์ประกอบของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินดั้งเดิม

· กำลังคน (manpower)

· การฝึกอบรม (training)

· การสื่อสาร (communications)

· การขนส่ง (transportation)

· สิ่งอำนวยความสะดวกในภาวะฉุกเฉิน (emergency facilities)

· แผนกผู้ป่วยวิกฤต (critical care unit)

· หน่วยดูแลความปลอดภัยสาธารณะ (public safety agencies)

· การมีส่วนร่วมของผู้บริโภค (consumer participation)

· การเข้าถึงการดูแล (access to care)

· การขนส่งผู้ป่วย (patient transfer)

· การเก็บข้อมูลอย่างมีมาตรฐาน (standardized record-keeping)

· การให้ข้อมูลและการศึกษาแก่ประชาชน (public information and education)

· การทบทวนและประเมินระบบ (system review and evaluation)

· การวางแผนรับภัยพิบัติ (disaster planning)

· ความช่วยเหลือจากนอกพื้นที่ที่อยู่ใกล้เคียง (mutual aid)

องค์ประกอบของระบบบริการการแพทย์ยุคใหม่

· การควบคุมโดยบุคลากรทางการแพทย์ ( physician medical oversight or control)

· การสื่อสาร (communications)

· การสั่งการ (dispatch)

· หน่วยขนส่งผู้ป่วยนอกโรงพยาบาล (out-of-hospital transport agencies)

· หน่วยขนส่งผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล (interfacility transport agencies)

· แบบแผนการปฏิบัติ (Protocols 4 Ts : triage, treatment, transport และ transfer)

· สถานพยาบาลที่รองรับ (receiving facilities)

· แผนกดูแลผู้ป่วยเฉพาะทาง (specialty care units)

· การฝึกอบรม (training)

· การรับรองคุณภาพ (audit and quality assurance)

· การเงิน (financing)

· การให้ข้อมูลและการศึกษาแก่ประชาชน (public information and education)

· ความช่วยเหลือจากนอกพื้นที่ที่อยู่ใกล้เคียง (mutual aid)

· การจัดการภัยพิบัติ (disaster management)

การให้คำแนะนำทางการแพทย์ (Medical oversight)

· การควบคุมทางการแพทย์ (medical control)

· โดยการสื่อสาร (Online, medical direction) วิทยุ, โทรศัพท์

· โดยไม่ใช้การสื่อสาร (Offline) : education, quality assurance, protocols

· การให้คำแนะนำทางการแพทย์ (medical oversight) อธิบายรวมถึงกิจกรรมในอนาคต ในปัจจุบัน และในอดีต ที่ควบคุมดูแลโดยแพทย์ และบุคลากรการแพทย์คนอื่นๆ ที่มีความรับผิดชอบและอำนาจสูงที่สุดในการดูแล

หน้าที่ความรับผิดชอบของแพทย์ใน medical oversight

· ให้การรับรองการเข้ามีส่วนร่วมของผู้ให้บริการนอกโรงพยาบาลซึ่งได้ปฏิบัติการภายใต้คำแนะนำของแพทย์

· แบ่งแยกภาระหน้าที่ของผู้ให้บริการ EMSกับการให้บริการทางการแพทย์ด้วยสาเหตุที่เกี่ยวข้อง

· สร้างแบบแผนการปฏิบัติ (Protocols)

· สร้างเงื่อนไขการแบ่งระดับความเร่งด่วนในการให้การรักษาเบื้องต้น (Criteria for level of initial emergency response : BLS, ALS)

· สร้างแนวทางการรับส่งผู้ป่วยตามระยะทางของที่เกิดเหตุ

· สร้างมาตรฐานการสั่งการทางการแพทย์

· เป็นแพทย์ที่ให้คำแนะนำทางโทรศัพท์

· สร้างความความพร้อมของสถานการณ์กรณีที่การนำส่งและการตอบสนองไม่สามารถกระทำได้

· ให้การรับรองการให้การศึกษาแก่ บุคลากร EMSทุกระดับ

· สร้างการประเมินประสิทธิภาพของระบบ และสร้างกิจกรรมที่พัฒนาคุณภาพของระบบ

สรุป

· องค์ประกอบของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน คือ องค์กร, การรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน, และการประสานงาน เพื่อให้เกิดการดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสมมากที่สุด

· ตัวแทนและผู้ควบคุมทางการแพทย์ (agency and medical director) ต้องแน่ใจว่าองค์ประกอบที่สำคัญแต่ละส่วนมีอยู่ในระบบจริงและทำหน้าที่ตามแผนที่วางไว้

· การควบคุมคุณภาพระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเป็นกระบวนการที่ไม่อยู่นิ่ง (dynamic process) และแพทย์ที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา (medical oversight) ควรมีความรู้เรื่องโครงสร้างขององค์กรและระบบเป็นอย่างดี

· ผู้ควบคุมทางการแพทย์ (medical director) มักไม่ได้ควบคุมกิจกรรมและการปฏิบัติงานขององค์ประกอบระบบโดยตรง แต่ก็ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับทุกองค์ประกอบในระบบ ต้องทราบจุดอ่อนของระบบ และแก้ไขปัญหาที่ดูมีศักยภาพต่อระบบได้ก่อนที่มันจะเกิดขึ้น

บรรณานุกรม

John A. Brennan, Jon R. Krohmer, et al. Principles of EMS systems, 3rd ed, Chapter 2 ; EMS system, p.18-29

แปลเป็นไทย โดย doctor_apple

ขอขอบคุณ : อาจารย์ นพ.สมชาย กาญจนสุต สำหรับหนังสือดีๆจากอเมริกาเพื่อการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทย

Navigation