Ground Transport การเคลื่อนย้ายภาคพื้นดิน
“Ambulance”
“รถพยาบาล”
จุดประสงค์
ทราบประวัติศาสตร์และพัฒนาการของรถพยาบาล
อธิบายพัฒนาการของการฝึกอบรมบุคลากรและการกำหนดอุปกรณ์ในรถพยาบาลได้
อธิบายการใช้ Response time และ การจัดการระบบ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้
รถพยาบาลเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ที่แสดงถึงเป้าหมายของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน คือ การช่วยเหลือบุคคลที่ต้องการการดูแลทางการแพทย์ในเวลาที่เหมาะสม ทั้งผู้ป่วยอุบัติเหตุ และผู้ป่วยโรคทางกาย
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยรถพยาบาลจัดเป็นส่วนที่สำคัญในระบบการทำงานของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และสำคัญต่อระบบสาธารณสุขโดยรวม
ประวัติของรถพยาบาล
การบันทึกเรื่องการขนย้ายผู้ป่วยมีขึ้นครั้งแรกในสงครามครูเซด ศตวรรษที่ 11 ซึ่งเป็นการขนย้ายโดยมีผู้รับจ้างหามทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากสงครามไปรับการรักษา โดยจะมีอัศวินที่ได้รับการฝึกจากแพทย์มาทำการพยาบาลเบื้องต้นในสถานที่หนึ่งที่จัดไว้
ในปีค.ศ. 1487 ราชินีแห่งสเปนได้สนับสนุนให้มีการใช้เกวียนในการขนย้ายทหารที่บาดเจ็บ และได้มีการใช้ต่อเนื่องมาจนยุคของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 5 ในปีค.ศ. 1553
ต่อมา ในช่วงศตวรรษที่ 17 Domimique-Jean Larrey ได้พัฒนาระบบการนำบุคลากรทางการแพทย์ ไปแยกทหารที่บาดเจ็บออกจากสมรภูมิรบเพื่อไปรับการรักษา โดยการใช้รถบรรทุกเทียมม้าเป็นพาหนะ ระบบนี้ถูกเรียกว่า “Flying Ambulance”
ก่อนสงครามกลางเมือง ได้มีการพิจารณาว่าการใช้เกวียนที่มี 2 ล้อเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทำให้ผู้ป่วยอาจได้รับบาดเจ็บเพิ่มขึ้นระหว่างเดินทางและเป็นพาหนะที่ไม่สะดวกสบาย
ในช่วงสงครามกลางเมือง Charles S. Tripler ได้ออกแบบพาหนะ 4 ล้อเป็นครั้งแรก และจัดว่าเป็นต้นแบบของรถพยาบาลในยุคต่อมา
มีบริการรถพยาบาลชุมชนครั้งแรกที่ ซินซินเนติ รัฐโอไฮโอ ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
ต่อมา หลังมีการผลิตรถยนต์ ก็มีการนำมาใช้เป็นรถพยาบาลสำหรับโรงพยาบาลและใช้ในสมรภูมิรบ โดยช่วงแรกเน้นที่การนำส่งผู้ป่วยอย่างเดียว แต่ไม่ได้มีการดูแลผู้ป่วยระหว่างทาง
การตีพิมพ์ของหนังสือ Accidental Death and Disability ในปี ค.ศ. 1966 เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญโดยมีใจความแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยอย่างเต็มที่ระหว่างการเคลื่อนย้าย ทั้งในผู้ป่วยอุบัติเหตุและผู้ป่วยโรคหัวใจ
Dr.J.Frank Pantridge แพทย์จากไอร์แลนด์เหนือ แนะนำให้นำการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงและอุปกรณ์การแพทย์มาใช้ในรถพยาบาล
ระบบ paramedic เกิดขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1971 ในนครลอสแองเจลิส
ในปีค.ศ. 1972 กองทุนรัฐบาลได้จัดตั้งหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินใน 5 พื้นที่ เมื่อระบบเป็นที่ยอมรับมากขึ้น รัฐบาลจึงตระหนักถึงความสำคัญของการมีหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินประจำในทุกพื้นที่
เพื่อการทำงานที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ จึงมีการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำที่ควรจะต้องมี ทั้งรถพยาบาล อุปกรณ์การแพทย์และบุคลากร รวมถึงกฏหมายที่ครอบคลุมการทำงานของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินด้วย
การออกแบบรถพยาบาล
ในช่วงค.ศ. 1960-1970 มีการให้นิยามว่า พาหนะสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน ที่แบ่งออกเป็น ส่วนคนขับและส่วนของผู้ป่วย โดยจะต้องบรรจุบุคลากรการแพทย์ได้ 2 คนและเปลผู้ป่วย 2 เปล รวมถึงต้องประกอบด้วย
มีการดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสมระหว่างทาง
วิทยุสื่อสาร 2 ทาง
อุปกรณ์ป้องกันตัวสำหรับกรณีไปในสถานที่เสี่ยงต่ออันตราย
ไฟสำหรับกรณีทำหัตถการฉุกเฉิน
มีการออกแบบให้มีความปลอดภัย สะดวกสบายและไม่ทำให้ผู้ป่วยบาดเจ็บมากขึ้น
ในช่วงปีค.ศ. 1960 รถพยาบาลส่วนใหญ่ใช้รถคันเดียวกับรถบรรทุกศพ
จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1974 รัฐบาลกลางจัดตั้งหน่วยงานสำหรับผลิตพาหนะทางการแพทย์โดยเฉพาะ(KKK-A-1822) เรียกว่า “มาตรฐาน KKK” ซึ่งมีการออกแบบตามวิศวกรเพื่อให้ได้มาตรฐานตามที่รัฐบาลกลางกำหนด
การแบ่งประเภทของรถพยาบาล
จากมาตรฐาน KKK กำหนดให้มีเปลผู้ป่วย 2 เปล โดย
เปลที่มีล้อ อาจจัดอยู่กลางรถเพื่อให้มีพื้นที่ให้ทำการรักษาได้สะดวก หรือ จัดอยู่ทางซ้ายมือแล้วให้ผู้ป่วยนอนตะแคง ช่วยลดการสำลักได้
เปลที่เป็นม้านั่ง จะอยู่ทางด้านขวาของตัวรถ
ส่วนคนขับกับส่วนของผู้ป่วยอาจเชื่อมต่อกันหรือไม่ก็ได้
โครงสร้างรถโดยหลักจะเป็นมาตรฐานเดียวกัน แตกต่างกันบ้างที่ตำแหน่งอุปกรณ์และตู้วางของ ตามความสะดวกของแต่ละหน่วยงาน
มาตรฐานรถพยาบาลล่าสุด: KKK-1822-E(มิ.ย. 2002)
อุปกรณ์ในรถพยาบาล
มีการเสนอรายการอุปกรณ์ที่ควรมีในรถพยาบาลทั้งจากสมาคมศัลยศาสตร์ และ เวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งอเมริกา
มีการรวมรายการดังกล่าวเข้าด้วยกัน ในปีค.ศ. 2001 ประกอบด้วย
อุปกรณ์ในการดูแลผู้ป่วย
วิทยุและอุปกรณ์สื่อสาร
อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ
อุปกรณ์ป้องกันการเกิดอันตรายแก่บุคลากร
การฝึกอบรมบุคลากร
หลักสูตรอบรมผู้ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล ทั้งสำหรับ EMT-Basic, EMT-Intermediate และ EMT-Paramedic รวมถึงจัดทำตำราเรียน และมีคอร์ส อบรมการดูแลผู้ป่วยเฉพาะทางพร้อมใบประกาศ
การอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน และขั้นสูง(เจาะเลือด, ให้ยา, ใส่ท่อช่วยหายใจ และช็อคไฟฟ้า)
คอร์สเฉพาะทาง: ผู้ป่วยวิกฤต ผู้ป่วยเด็ก ผู้ป่วยได้รับสารเคมี เป็นต้น
กำเนิดระบบการบริการทางการแพทย์
มีการเปลี่ยนแปลงในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินมากมายในช่วง 10-15 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากระบบนี้เป็นที่แพร่หลายมากขึ้น จึงเริ่มมีบริการของเอกชนและคิดราคาจากบริการดังกล่าว
มีบริษัทเอกชนหลายแห่งที่ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน โดยมุ่งหาผลประโยชน์ทางการค้า จึงต้องมีการจัดตั้งหน่วยงานทั้งของภาครัฐและเอกชนร่วมกันกำหนดกฎเกณฑ์เพื่อควบคุมการให้บริการ
หน่วยดับเพลิงก็มีการฝึกบุคลากรเพื่อให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อนำรายได้จากค่าบริการไปใช้บำรุงหน่วยงาน และกลายเป็นหน่วยงานหลักที่ให้บริการทางด้านนี้ในปัจจุบัน ซึ่งสามารถทำได้ทั้งการช่วยฟื้นคืนชีพแบบพื้นฐานและขั้นสูง
หน่วยดับเพลิงดังกล่าวนี้ ให้บริการทั้งการควบคุมการเกิดเพลิงไหม้ และการบริการทางการแพทย์ ทำให้การบริการครอบคลุมถึงประชาชนอย่างทั่วถึง
อย่างไรก็ตาม การที่หน่วยดับเพลิงต้องทำงานทั้งสองอย่างควบคู่กันไป อาจทำให้เพิ่มงานของบุคลากรและเกิดความสับสนในหน้าที่งานได้
ในช่วงปลาย ค.ศ. 1980-1990 บริษัทเอกชนรายย่อยได้ถูกซื้อกิจการโดยบริษัทใหญ่
จนปัจจุบัน มีบริษัทเอกชนที่ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินอยู่เพียง 2 บริษัทในอเมริกา
ระบบบริหารการแพทย์ฉุกเฉิน
การกำหนดโครงสร้างการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน กำหนดไว้ให้มีทางเลือกของการจัดการระบบได้หลายทาง ตามแต่ความเหมาะสมของลักษณะองค์กร
ทางด้านการจัดหาทุนของหน่วยงาน ก็อาจได้จากทั้งค่าบริการ จากภาษี หรือจากการบริจาค
ระบบการปฏิบัติการมีได้ 2 แบบ ได้แก่
ระบบปฏิบัติการขั้นเดียว คือ มีกลุ่มงานเดียวดูแลผู้ป่วยทุกประเภท โดยมากมักเป็นกลุ่มที่สามารถช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงได้
ระบบปฏิบัติการหลายขั้น คือ มีหลายกลุ่มงานปฏิบัติการ เช่น ผู้ป่วยทั่วไปให้กลุ่มพื้นฐานดูแล แต่ผู้ป่วยหนักให้กลุ่มที่ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงออกทำงานแทน ระบบนี้อาจเกิดความล่าช้าในการทำงานได้ เนื่องจากบางครั้งต้องให้กลุ่มพื้นฐานปฏิบัติการก่อนแล้วรอเรียกกลุ่มขั้นสูงภายหลัง
ระบบบริหารโดยภาคเอกชน
อาจมีเพียงบริษัทเดียวหรือมากกว่านั้นในหนึ่งชุมชน ให้บริการทั้งผู้ป่วยฉุกเฉินและไม่ฉุกเฉิน
บริษัทจะดำเนินการทั้งหมด ทั้งการจ้างบุคลากร ค่าอุปกรณ์ต่างๆ ค่าประกันชีวิตและทรัพย์สิน โดยจะเก็บค่าบริการเป็นการตอบแทน
ทั้งนี้อาจเป็นบริการที่จัดตั้งขึ้นโดยโรงพยาบาล เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย เพิ่มรายได้ และขยายกลุ่มผู้รับบริการ โดยบุคลากรที่ให้บริการอาจเป็นบุคลากรที่ปกติทำงานในแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากขึ้น
รัฐบาลควรมีส่วนร่วมในการดูแลภาคเอกชน โดยออกกฎหมายที่ควบคุมมาตรฐานการทำงาน, การขยายเครือข่ายของเอกชน, การออกใบอนุญาติ และเฝ้าระวังดูการทำงานให้ถูกต้องและปลอดภัย
เนื่องจากมีระบบโทรศัพท์สายด่วนที่รับแจ้งเหตุ ดังนั้น จึงควรมีการแจกจ่ายงานให้เหมาะสมและเท่าเทียมกัน
ระบบบริหารโดยภาครัฐ
บริหารโดยองค์กรส่วนท้องถิ่น ทั้งรถ, อุปกรณ์ และบุคลากร
รับผิดชอบโดยระบบของหน่วยดับเพลิง, ตำรวจ หรือ หน่วยบริการการแพทย์ โดยจะเก็บค่าบริการหรือไม่ก็ได้ แต่ในอุดมคติแล้ว ควรบริหารเงินทุนจากเงินงบประมาณของรัฐบาลมากกว่า
ระบบบริหารแบบผสม
แบ่งเป็น 3 ประเภท
กลุ่มที่รับผิดชอบในการดูแลการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งมีคณะกรรมการกลุ่มที่ไม่ถูกแทรกแซงโดยรัฐบาล
กลุ่มรับผิดชอบที่กำหนดกรรมการกลุ่มจากคนที่รัฐบาลกำหนด เรียก “public utility model”
รัฐทำสัญญากับบริษัทเอกชนโดยตรง อาจรับผิดชอบเฉพาะในกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินเท่านั้น หรือ ทุกกรณีก็ได้ โดยรัฐต้องควบคุมมาตรฐานและอัตราการคิดค่าบริการ
คณะกรรมการกลุ่มจะทำสัญญากับเอกชน โดยจะกำหนดมาตรฐานการทำงานให้ และมีการตรวจสอบการทำงานของเอกชนด้วย
ทางกลุ่มจะเป็นเจ้าของอุปกรณ์ทั้งหมด เพื่อไม่ให้การทำงานขาดตอนกรณีหมดสัญญากับบริษัทเดิม
กลุ่มที่รับผิดชอบนี้จะเป็นผู้คิดค่าบริการจากผู้ป่วย หรือเก็บเงินจากบริษัทประกันเอง และนำเงินไปจ่ายบริษัทเอกชนตามที่ตกลงกันเอาไว้ โดยอาจมีการเพิ่มเงินในกรณีที่สามารถดูแลผู้ป่วยได้รวดเร็ว เหมาะสม และมีประสิทธิภาพแล้วแต่กรณี
Response times
ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการทำให้การช่วยฟื้นคืนชีพประสบความสำเร็จ
โดยพบว่าอัตราการรอดชีวิตจากภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะ จะลดลง 10% ทุก 1 นาที
สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาและหลายองค์กร แนะนำว่ารถพยาบาลควรไปถึงและให้การช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นภายใน 3-4 นาที และการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงควรทำภายใน 6-8 นาที
การกำหนดเวลาดังกล่าว มาจากงานวิจัยที่พบว่า อัตราการรอดชีวิตลดลงอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่ทำการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานภายใน 4 นาทีและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงภายใน 8 นาที
Response Interval คือ การกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดในการจับเวลา ซึ่งถ้าไม่มีความแม่นยำในการกำหนด ก็จะทำให้การบอกเวลาผิดพลาดไปด้วย
จุดเริ่มต้น คือเวลาที่ได้รับแจ้งเหตุ
จุดสิ้นสุด คือเวลาที่หน่วยบริการการแพทย์ไปถึงจุดเกิดเหตุ
การบันทึกค่าเวลาในสมัยก่อนใช้ค่าประมาณ ซึ่งทำให้ได้สถิติที่ไม่ถูกต้อง
ปัจจุบันจึงใช้วิธีการบันทึกจำแนกกลุ่มย่อย(Fragile response time) โดยแบ่งกลุ่มละ 1 นาที แล้วลงบันทึกจำนวนในแต่ละกลุ่ม คำนวณจำนวนของแต่ละกลุ่มเป็นเปอร์เซนต์เทียบกับจำนวนทั้งหมด ดังแสดงในตัวอย่าง
ตัวอย่างการบันทึกจำแนกกลุ่มย่อย
การจัดการตำแหน่งรถพยาบาล
เพื่อที่จะทำให้ได้ response time ตามเป้าหมาย จะต้องมีการจัดระบบการจัดการให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
ระบบหยุดนิ่ง (static deployment system) รถพยาบาลจะประจำอยู่ในที่เดียว
ระบบเคลื่อนที่ (dynamic deployment system) รถพยาบาลจะวิ่งวนไปมาใกล้เคียงกับบริเวณที่มักเกิดเหตุบ่อย เพื่อให้ปฏิบัติการได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ระบบผสม รถพยาบาลจะออกวิ่งในชุมชนแต่ไปเฉพาะที่จุดที่กำหนดไว้แล้วเท่านั้น
สามารถใช้ข้อมูลเดิมที่เคยบันทึกไว้ มาคำนวณโดยคอมพิวเตอร์ได้ว่า ณ. เวลาหนึ่ง โอกาสที่จะเกิดเหตุน่าจะเป็นที่ใด ทำให้สามารถกำหนดจุดที่จะเป็นที่ตั้งของรถพยาบาลได้ แม้จะไม่ถูกต้องเสมอไปแต่ก็สามารถทำให้กำหนดทิศทางการบริหารจัดการระบบได้
ข้อมูลพื้นฐานยิ่งมาก ความถูกต้องก็จะยิ่งมากตามไปด้วย
บุคลากร
บุคลากรอาจเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานเต็มเวลา หรือเป็นคนที่ทำเป็นอาชีพเสริมก็ได้ ในอเมริกา 70%เป็นคนที่มาทำงาน เป็นพนักงานพาร์ทไทม์เพื่อเป็นอาชีพเสริม
ในอุดมคติ ระบบแบบอาสาสมัครที่ไม่รับค่าตอบแทนหรือรับค่าตอบ แทนต่อครั้งที่ออกทำงาน จัดเป็นระบบที่คุ้มค่ากว่า แต่ทำได้ยาก
หากสามารถนำอาสาสมัครจากชุมชนมาร่วมงานได้ จะเป็นประโยชน์มาก เนื่องจากจะเห็นถึงปัญหาได้มากกว่าและอาจนำชุมชนเข้ามาร่วมงานในองค์กร เพื่อให้เกิดประโยชน์มากขึ้นได้
สรุป
รถพยาบาลเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับการให้บริการการแพทย์นอกโรงพยาบาล และการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
ในอุดมคติ ควรจะต้องประกอบด้วยยานพาหนะ, อุปกรณ์, บุคลากร, การวางระบบ และการจัดการเงินทุนที่ดี
องค์กรท้องถิ่นต้องวางกฏเกณฑ์ในการให้บริการ และต้องควบคุมการให้บริการให้ได้มาตรฐาน
ขอบคุณค่ะ