update ความรู้ทาง toxico กันอีก

ในส่วนของ prehospital care แนะนำให้ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษดังนี้ ครับ
- หลักการดูแลแบ่งออกเป็น 6 step ดังนี้ครับ
1. การช่วยเหลือชีวิตเบื้องต้น (Basic life support) เน้นเรื่องของ A , B และ C
2. การประเมินผู้ป่วย รวมทั้งการซักประวัติ , การตรวจร่างกาย โดยเฉพาะ ส่วนของ vital sign , อาการและอาการแสดงที่เข้ากับสารพิษกลุ่มต่าง ๆ (หรือที่เรียกว่า Toxidrome) ครับ
3. การทำ Decontamination กรณีสงสัยว่าสัมผัสสารพิษ ให้ใช้หลักการของ Hazmat คือ มีการแบ่งแยกเป็น zone ต่าง ๆ จัดตั้งหน่วยที่ทำหน้าที่ในการ decontamination แยกต่างหาก เน้นส่วนของ skin , eye และ inhaler exposure สำหรับ GI decontamination ให้พิจารณาทำใน ER (แต่ถ้าสามารถให้ activated charcoal ได้ ใน 1 ชั่วโมงหลังได้รับสารพิษ ก็จะได้ประโยชน์มากครับ)
4. การให้ antidote เช่นหากสงสัยพิษจากยาฆ่าแมลงกลุ่ม organophosphate หรือ carbamate ให้พิจารณาให้ atropine IV , กินยาต้านซึมเศร้า กลุ่ม Tricyclic antidepressant เช่น amitryptyline แล้ว monitor EKG พบลักษณะ wide QRS complex ให้พิจารณาฉีด Sodium bicarbonate
5. การรักษาตามอาการและการรักษาประคับประคอง เช่น การดูแลผู้ป่วยหมดสติ หรือชัก
6. การเร่งการกำจัดสารพิษ เช่น ให้ multi-dose activated charcoal , urine alkalinization (ฉีด sodium bicarbonate) กรณีคนไข้ salicylate poisoning
เสนอแนะ การติดต่อศูนย์พิษ เช่นศูนย์พิษ รามาฯ หมายเลข 02-2011083 หรือ ศูนย์พิษศิริราช 02-4197007, 02-4197371 เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม ในแง่ของการดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น , การขอข้อมูลสารพิษที่สงสัย ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ควรทำ เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยได้ถูกต้อง ทันเวลาครับ
(ประยุกต์จากหนังสือ Update in Emergency Medicine 2549 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครับ)

Navigation