ปีการฝึกอบรม 2566 โรงพยาบาลราชวิถี ผ่านการประเมินศักยภาพในการรับแพทย์ประจำบ้าน ได้ไม่เกิน 8 คน ต่อปีการฝึกอบรม
กำหนดการรับสมัคร
รอบที่ 1 ปีการฝึกอบรม 2565: 1 ต.ค. - 5 พ.ย. 2565
การรับและคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรม
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
- ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- ได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต หรือเทียบเท่าที่แพทยสภารับรอง
- ได้รับการขึ้นทะเบียนประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภาแล้ว
- ผ่านการอบรมแพทย์เพิ่มพูนทักษะเป็นเวลา 1 ปี หรืออยู่ระหว่างการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะและมีหนังสือรับรองว่าจะผ่านการปฏิบัติงานและได้รับประกาศนียบัตรตามโครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะก่อนวันเปิดการฝึกอบรม
- มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์แพทยสภาในการเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง
- แพทย์ซึงเป็นข้าราชการกรมการแพทย์ หรือแพทย์ผู้มีต้นสังกัดอื่น เมื่อได้รับคัดเลือกเข้าฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน จะต้องทำสัญญาลาศึกษากับหน่วยงานต้นสังกัดให้เรียบร้อยก่อนเข้ารับการฝึกอบรม และมีหนังสือรับรองการรับเป็นต้นสังกัดจากสถานพยาบาลที่เป็นหน่วยงานของรัฐ
ลักษณะต้องห้าม
- เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่อาจส่งผลกระทบต่อการฝึกอบรมตามกฎ กพ. ว่าด้วยโรค พ.ศ 2553
- เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกพักราชการ หรือพักงาน หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการ หรือออกจากงานตามกฎหมาย ข้อบังคับ หรือ ระเบียบอื่น
- เป็นผู้มีพฤติกรรมเสื่อมเสียหรือบกพร่องทางศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
- เป็นบุคคลมที่ศาลมีคำสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย
- เป็นผู้เคยถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
- เป็นผู้เคยถูกสั่งลงโทษวินัยร้ายแรง หรือถูกให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ หรือจากรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐ เพราะกระทำผิดวินัยหรือจรรยาบรรณ
- เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้าปฏิบัติงานหรือฝึกอบรม
จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม
วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย ได้กำหนดให้สถาบันฝึกอบรมรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ในสัดส่วนปีละชั้นละ 2 คน ต่ออาจารย์ผู้ให้การฝึกอบรมเต็มเวลา 3 คนสำหรับตำแหน่งแรก และปีละชั้นละ 1 คนสำหรับตำแหน่งต่อจากนั้นไม่เกิน 8 ตำแหน่ง และปีละชั้นละ 2 คน สำหรับตำแหน่งต่อจากนั้น
กรณีสถาบันฝึกอบรมจำเป็นต้องจัดให้มีอาจารย์ผู้ให้การฝึกอบรมปฏิบัติงานแบบบางเวลาด้วย ให้ใช้หลักเกณฑ์ในการคำนวณอาจารย์เทียบเท่าเต็มเวลา รวมทั้งต้องมีปริมาณงานบริการของสาขาที่ให้การฝึกอบรมตามที่ระบุไว้ในเกณฑ์เฉพาะสำหรับสถาบันฝึกอบรม โดยคำนวณศักยภาพในการอบรมตามตาราง
กรณีสถาบันฝึกอบรมใดมีสถานภาพเป็นสถาบันร่วมฝึกอบรม หรือสถาบันฝึกอบรมสมทบให้กับหลาย
หลักสูตรในสาขาเดียวกัน จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่จะปฏิบัติงานในสถาบันฝึอบรมแห่งนั้นในเวลาหนึ่งๆ ต้องไม่เกินศักยภาพของสถาบันฝึกอบรมนั้น
โดยในปี พ.ศ. 2566 โรงพยาบาลราชวิถี ผ่านการประเมินศักยภาพในการรับแพทย์ประจำบ้าน ได้ไม่เกิน 8 คน ต่อปีการฝึกอบรม
คณะอนุกรรมการคัดเลือกแพทย์ประจำบ้าน
คณะอนุกรรมการคัดเลือกแพทย์ประจำบ้าน ประกอบด้วย
- หัวหน้ากลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลราชวิถี
- อาจารย์แพทย์กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลราชวิถี
- พยาบาลหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลราชวิถี
- หัวหน้ากลุ่มงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
- จิตแพทย์
หลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือกผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรม
วิธีการคัดเลือกดำเนินการโดยใช้วิธีอย่างน้อย 2 วิธีดังต่อไปนี้:
การสอบสัมภาษณ์
สัดส่วนคะแนน: 75%
- ด้านลักษณะทั่วไป: บุคลิกภาพ และมนุษยสัมพันธ์ การตัดสินใจ ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม
- ด้านผลการศึกษาในระดับแพทยศาสตร์บัณฑิต
- เกรดเฉลี่ย
- เกรดวิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
- ด้านเจตคติ และความมุ่งมั่นต่อการเป็นแพทย์ฉุกเฉิน
เกณฑ์:
- มีข้อมูลและเหตุผลที่บ่งบอกได้ชัดแจ้ง
- มีประสบการณ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
- การได้รับทุนหลังสำเร็จการฝึกอบรม
เกณฑ์:
- สถานที่อยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือพื๋นที่ทุรกันดาร
- อยู่ในภาคราชการ
- อยู่ในภาคเอกชน
- ระยะเวลาการชดใช้ทุน นับจนถึงเวลาเริ่มการฝึกอบรม
- >= 3 ปี
- 2-3 ปี
- 1-2 ปี
- <1 ปี
- หนังสือรับรองผลงานและ/หรือความประพฤติ
การสอบข้อเขียนความรู้ทางวิชาการ
สัดส่วนคะแนน: (20%)
การประเมินการปฏิบัติงานในห้องฉุกเฉิน
สัดส่วนคะแนน: 5%
การตัดสินผลการคัดเลือก
การตัดสินผลการคัดเลือกเป็นการดำเนินงานตามเกณฑ์ที่ผ่านมติเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินโรงพยาบาลราชวิถี โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาค โปร่งใสตรวจสอบได้ และถือเป็นที่สิ้นสุด
รายละเอียดเพิ่มเติม: