EP Personality test: บททดสอบสู่ความเป็นแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน

สวัสดีครับผมเป็น EP ครับ อาจจะงงว่า EP คืออะไรเป็นโรค หรือกลุ่มอาการพิเศษอะไรหรือเปล่า ไม่ใช่หรอกครับ EP ย่อจาก Emergency Physician (ภาษาไทยเรียกแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน) เรียนจบเฉพาะทางด้าน Emergency Medicine แม้จะฟังดูคล้าย แพทย์ที่ฝึกฝนด้าน Internal Medicine เฉพาะภาวะที่เร่งด่วน ฉุกเฉิน แต่ถ้าลองมาดูในเนื้องานแล้วขอบข่ายและมุมมองต่างกัน (เราจึงไม่เรียกตัวเองว่า แพทย์อายุรศาสตร์ฉุกเฉิน) แต่อนาคตอาจถูกเรียกเป็นอย่างอื่นก็ได้ หลังจากที่ถูกถามว่าเป็นหมออะไร ตอบไปว่า “แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน” คนฟังยังทำคิ้วขมวด (ผูกโบ)อีก ก็ตอบไปอีกว่า ทำงานห้องฉุกเฉินและนำส่งคนไข้ก่อนถึงโรงพยาบาล ไม่วายถูก ถามต่ออีกว่า ก็น่าสนุกดีเนอะ ตื่นเต้นดีนี่ ทำงานอีกกี่ปี แล้วตั้งใจ จะเรียนเฉพาะทางด้านอะไรล่ะ (คงคิดว่าต่อเฉพาะด้านเป็นหมอ สูติ ศัลย์ เด็กแล้วก็อายุรกรรมที่ทำงานเฉพาะห้องฉุกเฉินอีกมั้ง) เฮ้อ! (ในใจ) ผมก็เฉพาะทางด้านเกี่ยวกับอุบัติเหตุฉุกเฉินนี่แหละ ครับ แต่ยังไม่ได้คิดจะต่อยอดเฉพาะทางขึ้นไปอีกหรอกครับ ขอ สนุกกับการทำงานที่นี่ก่อน ประเทศไทยเพิ่งจะมีแพทย์สาขานี้ จบได้ 1- 2 รุ่นเอง ในบ้านเราคงต้องทำตัวให้ชินกับการตอบปัญหานี้ไปสักพัก แม้จะยังรู้สึกอึดอัดใจเล็ก ๆ กับการยอมรับแพทย์สายพันธุ์ใหม่นี้ ในฐานะแพทย์เฉพาะทาง (specialist) คงต้องให้เวลากับระบบ แบบไทย ๆ สักพัก เกิดแน่ รู้จักแน่ แต่อาจจะนานหน่อย ถ้าจะให้ เร็วต้องโหมสร้างกระแส ไม่ว่าจะเป็นหวัดนก, แผ่นดินไหว, สึนามิ ที่มาแรงเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว (บางเรื่องก็ถูกลืมไปเร็วเช่นกัน) จึงต้องหาโอกาสเหมาะ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้คนไทยรู้จักระบบ บริการการแพทย์ฉุกเฉิน (รวมไปถึงคนสายพันธุ์ใหม่ในระบบ อย่างเจ้าหน้าที่เวชกิจฉุกเฉิน,​ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน) กันสักที แล้วค่อยคิดต่อไปว่า ทำอย่างไรให้ระบบเหล่านี้อยู่ได้ยั่งยืนเพื่อ ให้บริการแก่ประชาชน ไม่แปรผันขึ้นลงตามนโยบายของรัฐบาล แต่ละสมัย หรือ สถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้น ไม่อยากให้แพทย์ที่สนใจงานด้านนี้รู้สึกท้อ คิดว่าตัวเองไม่ เก่ง ทำอะไรไม่ได้ ต้องปรึกษาคนอื่นต่อ ไม่เหมือนในต่างประเทศ ที่มีจุดยืนของตัวเองและเป็นที่ยอมรับ แต่อยากให้เรามองย้อนว่า ในต่างประเทศกว่าจะถึงวันนี้ เขาก็ต้องผ่านช่วงล้มลุกคลุกคลาน ตั้งไข่ หัดเดินมาเหมือนกันในช่วงจัดตั้งการเรียนการสอนด้านนี้ ใหม่ ๆ กว่าจะเป็นที่ยอมรับในความสามารถ และความเฉพาะ ด้านของงานที่หาใครทำดีเทียบเท่าได้ยาก “อย่าหวังให้คนอื่นยอมรับเรา หากเรายังไม่ได้พิสูจน์คุณค่า ความสามารถของเราเอง” แนวคิดที่ว่าเมื่อคุณเป็น Specialist แล้วไม่ต้องปรึกษาใคร หรือรอให้ใครมาปรึกษาคุณ คงจะเก่าไปแล้วล่ะครับ เพราะไม่ว่า เฉพาะทางด้านอะไรก็ต้องปรึกษาเฉพาะทางด้านอื่นอยู่ดี ไม่ว่าใน ภาควิชาเดียวกัน เช่นหมอ Cardio ปรึกษาหมอ Nephro เป็นต้น หรือระหว่างภาควิชา เช่น หมอสูติ ปรึกษาหมอเด็กดูแลเด็กหลัง คลอด,​ หมอศัลย์ปรึกษาหมออายุรกรรม,​ หมอวิสัญญี เพื่อเตรียม คนไข้ผ่าตัด แล้วแปลกอะไรที่แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินจะปรึกษา แพทย์ในภาควิชาอื่นเพื่อดูแลคนไข้ต่อ เมื่อลองมาวิเคราะห์ถึงลักษณะเด่นเฉพาะตัวของแพทย์ที่จะ เป็น Emergency Physician อย่างคร่าว ๆ จากตัวเองและเพื่อน ก็พบว่ามีอะไรที่คล้ายกันหลายอย่าง ยกตัวอย่างสัก 10 ข้อ (เผื่อ ใครสนใจงานด้านนี้ก็ลอง check ตัวเอง แล้วยื่นใบสมัครเรียนดู)

1. ไม่ชอบงานผ่าตัดใหญ่ในห้องผ่าตัด

2. ไม่ชอบ round คนไข้ ทำแผล (สมัยเป็นนักศึกษาแพทย์) แบบครึ่งค่อนวัน เพิ่มรอบพิเศษตอนบ่าย ไม่เคยได้กลับบ้าน ก่อนพระอาทิตย์ตก แถมมีวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และ วันหยุด นักขัตฤกษ์อีก

3. เบื่องานสรุป Discharge summary กองโต จากให้คนไข้ที่ round แล้วกลับบ้าน

4. ไม่อยากออกตรวจผู้ป่วยนอกตอนเช้าที่มีคนนั่งรอ ออกันแน่น ชนิดเนื้อแนบเนื้อ หายใจรดต้นคอ จะติด TB กันอยู่แล้ว (เห็นภาพได้ชัดมากในโรงพยาบาลรัฐทุกระดับ)

5. ยังมีความสุขกับการได้ตรวจคนไข้ พูดคุย ซักประวัติ ตรวจ ร่างกาย ทำหัตถการบ้าง (แม้จะตอบใช่ในข้อ 2, 3 และ 4 มาอย่างไม่ต้องลังเลตอบให้เสียบุคลิกมาแล้วก็ตาม)

6. เบื่อคนไข้เจ็บป่วยเรื้อรัง (ประเภทเข้า – ออกโรงพยาบาลบ่อย กว่าร้านสะดวกซื้อ แต่ละครั้งก็นอนนานเป็นเดือน กลับบ้านได้ ไม่ถึงอาทิตย์ก็มาอีก) ชอบคนไข้ป่วยฉับพลันไม่นานเกิน 7 วัน

7. ชอบคนไข้ที่หลากหลาย มากกลุ่ม ไม่ระบุดูเฉพาะอวัยวะ เฉพาะกลุ่มอายุหรือเพศ สนุกกับการตัดสินใจภายใต้สภาวะ เร่งด่วนที่ไม่ค่อยมีอะไรเด่นชัด แน่นอน

8. อยากมีเวลาเป็นของตัวเอง ตอบโจทย์ชีวิตได้ชัดเจนว่า ชีวิตมี อะไรให้ได้ลองทำมากกว่าเป็นแพทย์

9. ไม่ได้ชอบที่จะศึกษา เพื่อรักษา rare disease เป็นชีวิตจิตใจ ไม่ได้มีความรู้สึกเป็นปลื้ม สุขอย่างล้นพ้นที่ได้พูดคุย แสดงภูมิ ความรู้ โรคหรือศัพท์เฉพาะด้านที่คนวงการแพทย์รู้จักไม่กี่คน

10. ไม่ care กับความรู้สึกปิดทองหลังพระ ไม่สนค่าตอบแทนที่ ดูน้อยจนไม่น่าเชื่อ

เราลองมาวิเคราะห์ดูกันไปทีละข้อนะครับ

1. ไม่ชอบงานผ่าตัดใหญ่ในห้องผ่าตัด

สำหรับผมกลายเป็นพฤติกรรมฝังใจตั้งแต่เป็นนิสิตแพทย์ขึ้น Ward ศัลยกรรมเป็น Ward แรก จะเรียกว่าถูกขัดใจหรือเกลียด กัน ตั้งแต่วันแรกก็ได้ ในเรื่องต่อไปนี้ครับ

o ขัดมือ ฟอกแขน โดยใช้แปรง กดสบู่หรือยาฆ่าเชื้อ โดยไม่ให้ ถูกก๊อกน้ำ เปิดน้ำล้างด้วยเทคนิคน้ำไหลจากมือไปแขน ไม่ ไหลย้อนกลับ (เหมือนผ้าอนามัย) อย่างน้อย 20 นาที ถ้า เสื้อเปียก มือตกก็ถูกดุอีก (จะอะไรกันนักหนาก็ล้างแล้ว แค่น้ำไหลย้อนลงไปที่มือ เปียกเสื้อก็ว่าสกปรก) พอขัดจน มือ แขนเริ่มแสบ เปิดประตู โดยใช้ตัวผลัก ย้ำว่าแขนห้ามตก ยกมือ แขน ค้างไว้อย่างนั้น ไปที่การซับ เช็ดมือและ สวมชุดผ่าตัดทางด้านหน้า ให้คนช่วยจับสายแล้วหมุนตัว 1 รอบโชว์ส่วนสัด แล้วจับสายผูก สวมถุงมืออย่าง Sterile technique 2 ชั้น สรุปแล้ว ถ้าผ้าเช็ดมือ ถุงมือหรือชุดเสื้อ ผ่าตัด อบไม่ sterile ซะอย่างเดียว ไอ้ที่ขัดมือ ฟอกแขน กด สบู่ เปิดน้ำไหลทิ้ง 20 นาที เบี่ยงใช้ตัวดันเปิดประตูก็ ล้มเหลวทั้งหมด ก็นั่งคิดอยู่ว่า สุดท้ายก็ใส่ชุด สวมถุงมือ อยู่ดี วิธีสวมก็ต้องเฉพาะไม่ให้ถูกด้านนอก มือที่ล้างเช็ด แล้วอย่างดี ก็ไม่สัมผัสถุงมืออยู่แล้ว แถมท้ายที่สุด แล้วหลัง ผ่าตัดก็ให้ Antibiotic คนไข้อยู่ดี แล้วจะทำที่ว่าตั้งแต่ต้น มาทั้งหมดทำไม เสียเวลาขัด เปลืองน้ำ ยาฆ่าเชื้อ แสบแขน

หลังจากผ่านทุกกระบวนการเรียบร้อยแล้วก็ยืนนิ่ง ๆ สร้าง Barrier ของตัวเองขึ้นมาห้ามสัมผัสถูกอะไรอีก ยกเว้นพวกที่ได้ แต่งตัวแบบเดียวกันแล้วเท่านั้น หากใครเผลอไปแตะถูกอะไร ก็ จะโดนตราหน้าว่า “ตัวสกปรก ไม่ Sterile แล้วไล่ออกจาก field ไปอย่างไรเยื่อใย”

o ห้องแอร์ที่เย็นเฉียบ ราวกับว่าคนทำงานในห้องนี้มีบ้านอยู่ห้องเย็นสะพานปลา หรือมีบ้านพักอยู่แถวประเทศที่หิมะตกกันครึ่งค่อนปี เคยถามไปทีนึง แต่เห็นแกค้อนกลับมา (แม้จะดุ แต่ก็น่ารักดี) แต่เหตุจริง ๆ แล้วเป็นเพราะการใส่ชุดในห้องผ่าตัดที่เต็มยศ ไฟ 3-5 ดวงส่องสว่างจ้าแสบตา + ร้อน) บวกกับพยาบาล ส่วนใหญ่ ทำงานมานานมากประสบการณ์ (อายุเฉียดวัย ทอง?)

o การหวงพื้นที่อย่างเอาเป็นเอาตาย ของพยาบาล Scrub โดยสั่งห้ามนักศึกษาแพทย์ที่เข้ามาสังเกตใน OR ยืนใกล้ โต๊ะเครื่องมือในระยะ 1 เมตร (ไม่งั้นจะมี Sensor ดังเป็น เสียงดุ ด่าของพยาบาล) แล้วเรานักศึกษาจะเห็นอะไรจาก field ทางเดียวที่ทำได้คือ ต่อไม้ยืน ผลัดกันขึ้นไปคร่อมหัว ห่าง ๆ หลังแพทย์ประจำบ้านหรือ Staff ที่ทำผ่าตัด (ที Staff ชะโงกหน้าเข้าไปดู แทบจะยืนไซ้ต้นคอแพทย์ประจำบ้าน อยู่แล้ว ไม่เห็นจะว่า) คิดว่าคงเป็นความกลัวเชื้อโรคจากชุด จากตัวนักศึกษาแพทย์จะกระโดดใส่คนไข้ใน field ผ่าตัด

o แปลกใจเหลือเกินว่าจะปูผ้าอะไรกันมากขนาดนั้น รวมแล้วผ่าตัดรายหนึ่งใช้ผ้า 5 - 8 ชิ้น ทั้งซ้าย,​ ขวา, ล่าง,​ บน,​ ปีกซ้าย, ปีกขวา Extend ออกไปเพิ่ม (ติดกับเสาที่ บริเวณไหล่คนไข้ เพื่อปิดไม่ให้คนไข้เห็น filed และแบ่งพื้นที่ ด้านบนให้หมอดมยา),​ ผ้าทับบนเจาะรู,​ ผ้าซับหลัง scrub (อาจมีมากกว่านี้อีก)

o อุปกรณ์ผ่าตัดที่บางราย มีมากเป็นร้อย ๆ ชิ้น อะไรจะยิ่ง ใหญ่อลังการขนาดนั้นเรียกชื่อกันไม่ถูก จะหยิบส่งเครื่องมือ แต่ละชิ้นก็ต้องมีมุม ทิศทาง พิธีรีตองที่ต้องเรียนรู้ ไม่งั้นจะ ได้เห็นจอมยุทธ์ฝ่ายมารในตำนานการขว้างมีด,​ retractor, forceps และอีกสารพัด (แถมท้ายด้วยใบแดงเนรเทศออก นอกห้อง)

ถามว่าจะเป็นหมอผ่าตัดไหม ถ้าต้องอยู่กับอะไรแบบนี้ในช่วง ชีวิตที่เหลือ NO!!! เป็นคำตอบที่ค้นพบได้ตั้งแต่วันแรกเลย ตัดทางเลือกแพทย์ที่ต้องเข้าห้องผ่าตัดเป็นงานหลักออกเลยครับ

2. ไม่ชอบ round คนไข้ ทำแผล

เห็นได้ชัดเลยว่าแพทย์ที่เลือกเรียนเฉพาะทางสาขา Minor ส่วนใหญ่ไม่ชอบ round คนไข้โดยเฉพาะการ round แบบ bid + prn for emergency (round ward นะครับไม่ใช่ลาวหวอด อย่างที่ชอบพูดกันติดปาก) เพราะเราถือว่าการ round ward เป็นหน้าที่ ซึ่งนับวันจะกลายเป็นภาระติดตัวแล้วครับ ไม่มีวันหยุด จะเสาร์ อาทิตย์ ก็ต้องมาถ้าติดธุระอย่างครูเรียกพบผู้ปกครอง ของลูก, แฟนลาคลอด, กิ๊กลาป่วย ก็ต้องฝากให้แพทย์คนอื่นดูให้ แล้วหนีไม่พ้นต้องกลับมารับฝาก round เพิ่มขึ้นในวันที่คนอื่น เขาลาบ้างอยู่ดี อีกทั้งอยู่เวรกลางคืน ถ้ามีคนไข้เข้าใหม่ หรือ ผู้ป่วยที่นอนอยู่เกิดภาวะฉุกเฉินก็ต้องไปดูนับเป็น round ward ย่อย ๆ ได้อีก ซึ่งการ round wound ที่แผนก Internal Medicine ตามโรงพยาบาลรัฐ มี Workload เยอะมากโดยเฉพาะตึก อายุรกรรมหญิงในโรงพยาบาลจังหวัด / โรงพยาบาลศูนย์ (ที่รับ ได้ไม่อั้น ไม่มีคำว่าเต็ม ประมาณ “หญิงทนได้”) เห็นภาพการ เสริมเตียงอย่างทารุณไล่เลียงยาวจากหน้าตึกไปลิฟท์ เกินกำลัง การดูแลของพยาบาลในตึก) แนวโน้มที่จะเห็นหญิงชรา นอนนาน ๆ เข้าออก เป็นขาประจำ มีมากขึ้น ในขณะที่แพทย์และพยาบาล ก็มีเท่าเดิม การดูแลก็ใช้ทรัพยากรเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

เมื่อตัดสินใจได้แล้วว่าไม่ชอบ round ward แบบมหาโหด ในโรงพยาบาลรัฐ ก็ตัดเฉพาะทางด้านอายุรกรรมออกไปได้ หาก แต่จะอดทนเรียนต่อถึง subboard สภาวการณ์อาจะดีขึ้น ส่วนที่ แผนกอื่นก็คล้ายกัน อย่างเด็ก,​ศัลยกรรม (มักเห็นภาพการวิ่ง round : คล้าย ๆ การวิ่งราว เพราะคนไข้กระจายตามตึกและชั้น ต่าง ๆ ทั่วโรงพยาบาล ตึกละ 3-4 คน กว่าจะวิ่งดู ไล่ทำแผลจน ครบก็ครึ่งวัน) ใครที่ชอบงานใน ER ก็มี round บ้างในหน่วย สังเกตอาการ (observation unit) หรือคนไข้ที่นอนค้างตอนช่วง รับ-ส่งเวร ไม่เสียเวลามากนักและก็เป็นไปตามเวลางานที่กำหนด

3. เบื่องานสรุป Discharge summary กองโต

พวกงานเอกสารมากมายที่มากับงานผู้ป่วยในทั้งการเขียน Medical Record ไม่ว่าจะเป็น Progress note, ใบ consult, ผลตรวจ lab, ลงสรุป chart ล้วนเป็นภาระงานที่ตามมาหลังการ ดูแลคนไข้ ถ้าไม่ชอบตรงนี้แนะนำตัดตัวเลือกที่เป็น Major ward ที่มีคนไข้เป็นจำนวนมากออก เช่น อายุรกรรม, ศัลยกรรม, กุมารเวชกรรม

4. ไม่อยากตรวจผู้ป่วยนอกตอนเช้าที่มีคนนั่งรอกันแน่น

สันนิษฐานว่าไม่ชอบคนไข้ที่ไม่เร่งด่วนครับ ข้อนี้ถือว่าตรง มาก “อย่างแรงเลย” ครับ เรียกว่ามีนัยสำคัญทางคลินิก (Clinical significant) คิดได้ว่าแพทย์เสริมทักษะ (Intern) ที่ทำงานที่ รพ. ชุมชน ลาออกกันทุกปี ส่วนหนึ่งมาจากภาระงานหนักที่ถาโถม เข้ามาในการตรวจผู้ป่วยนอก(OPD) ซึ่งโรงพยาบาลรัฐทุกระดับ ก็ประสบ เพียงแต่ที่โรงพยาบาลชุมชนดูจะหนักที่สุด เพราะแพทย์ น้อย ปัญหานี้ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า ความรู้สึกไม่มั่นใจในคุณค่า ของตัวเอง หรือเห็นคุณค่าของตัวเองต่ำ (Low-self esteem) ที่คิด ว่าในชีวิตที่อุตส่าห์บากบั่นเรียนกวดวิชามาตั้งแต่เด็ก จนสอบติด ฝ่าฟันเรียนมานาน 6 ปี ท้ายสุดทำได้เพียงการสั่งจ่ายยาเดิมใน โรคเรื้อรังเช่น DM, HT, Dyslipidemia, IHD, old CVA, OA ฯลฯ นอกนั้นคือการเขียนใบ refer โทรติดต่อหาโรงพยาบาลระดับใหญ่ ซึ่งเป็นศาสตร์เฉพาะที่โรงพยาบาลระดับต้นมี อนาคตอาจมีการ เสนอว่า “หากทำงานในโรงพยาบาลชุมชนนานเกิน 3 ปี โดยไม่ คิดจะทำหัตถการใด ๆ ที่เป็นความเสี่ยงต่อโรงพยาบาลชุมชน และได้ส่งต่อไปยังโรงพยาบาลจังหวัดอย่างต่อเนื่อง จะแจกประกาศนียบัตรด้านเวชศาสตร์การส่งต่อ (Referology) จากกระ- ทรวงสาธารณสุขแนบให้ ใช้ยื่นสมัครเรียนต่อได้” การทำงาน ที่ไม่มี เวลาได้พักผ่อน เมื่อคืนอยู่เวรไม่ได้ นอน วันนี้ก็ต้องไปออกตรวจผู้ป่วยนอกต่อ หรือต้องอยู่เวรติดกัน หลายวันเพราะคนน้อย ทำให้ต้องอยู่เวรบ่อย 10 - 15 วัน / เดือน ถ้าโรงไหนมีแพทย์ด้วยกันเปิด clinic อาจเพิ่มยอดเวรฝากรวมถึง 20 วัน / เดือน นี่ยังไม่นับการลงตรวจในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (PCU),​ ไม่เห็นโอกาสก้าวหน้า คงต้องสรุปว่างานมันซ้ำซาก ขาด ความท้าทาย ต้องใช้พลังและแรงใจเสียสละสูงมากในการทำงาน ที่โรงพยาบาลชุมชนครับ

เหล่านี้ทำให้แต่ละคนต้องผลักดันตัวเองไปเป็น Specialist เพื่อเลี่ยงตรวจคนไข้กลุ่มทั่วไปกลุ่มใหญ่ที่แผนก OPD นี้ (ช่วยไม่ ได้จริง ๆ ด้วยระบบที่รังแกแพทย์ทั่วไปแบบนี้ ทำให้ไม่มีใครทนอยู่ ได้) หากคุณไม่ชอบ OPD อย่างรุนแรงแล้วล่ะก็ง่ายมาก ตัดออก ไปได้เยอะครับ ทั้งหมอทั่วไป (ไม่เรียนต่อ),​Family Medicine, GP (General Practitioner: เดิมเคยมี training แต่ยกเลิกไปแล้ว),​ อายุรกรรมที่ไม่ได้เรียนต่อยอดเฉพาะทาง

5. ยังมีความสุขกับการได้ตรวจคนไข้ พูดคุย ซักประวัติ ตรวจร่างกาย ทำหัตถการบ้าง

ข้อนี้อาจฟังดูขำ ๆ แต่เป็นเรื่องจริงของการหาตัวตนให้พบ ถ้าคุณเริ่มรู้ตัวเมื่อไรว่า รู้สึกเบื่อคนไข้ ควรผันตัวเองไปทำงาน ด้านอื่น เช่น Investigation ครับ แพทย์หลายท่านค้นพบตัวเอง ตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษาแพทย์ปี 2-3, บางคนพบตัวเองตอนขึ้น ward หลังจากตื่นเช้า ลงดึก ไม่มีวันพักอยู่ได้ไม่กี่เดือน ถือว่าเป็น เรื่องดี แต่หากคุณพบตัวเองช้า เช่นไปเป็นแพทย์ประจำบ้านปี 1 แล้วพบว่า งานที่ทำอยู่ไม่ใช่ คุยกับคนไข้ไม่รู้เรื่อง เบื่อญาติที่ จุกจิก เอาแต่ใจ กังวลว่าจะถูกฟ้องร้องหากไม่พอใจ กรณีรักษา แล้วเกิดความผิดพลาด ท่ามกลางสังคมที่การฟ้องร้องสูงขึ้น นั่น อาจเป็นสัญญาณอันตรายที่บ่งถึง Resident 1 syndrome ที่จะ ทำให้ resident training แท้ง จบลงก่อนกำหนดได้ คิดซะว่า โชคดีแล้วครับ ไม่สายเกินไป ดีกว่าจบแพทย์ประจำบ้านแล้วมา คิดได้ เลิกเป็นแพทย์ไปก็น่าเสียดาย

งานที่ต้องเกี่ยวข้องกับความทุกข์ ทรมานทั้งด้านกายและใจ ของผู้ป่วย ภาระงานมากล้นที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ (หากอยู่ใน ภาครัฐ) ทำให้เป็นธรรมดาอยู่เองที่รู้สึก เซ็ง ท้อ ( แห้ว ระกำ บ๊วย) กันได้ แต่หากความรู้สึกนี้มันรุนแรงมาก ควรใส่ใจและป้องกันไว้ แต่เนิ่น ๆ อย่าให้ทำลายชีวิตคุณได้ ถ้าค้นพบได้เมื่อไรว่า “ฉันไม่มี ความสุขกับการนั่งซักประวัติ ตรวจร่างกายคนไข้อีกต่อไปแล้ว” แนะนำ ดังนี้ 1) เลิกเป็นหมอรักษาคนไข้ (ง่าย ๆ ตรงประเด็น) บางคนเลิกเป็นแพทย์ตั้งแต่เรียนจบ 6 ปีเลย บางคนก็ออกอาการ ช้าผันตัวเองไปเป็นนักบริหาร สมัครเล่นการเมืองทั้ง ๆ ที่ยังมีชื่อ นำหน้าเป็น นพ. อยู่ 2) เรียนต่อเฉพาะด้านที่ไม่ต้องสัมผัสคนไข้ โดยตรงหรือนาน ๆ ไม่ว่าจะเป็น รังสีวิทยา, ระบาดวิทยา,​พยาธิ- วิทยา, พยาธิวิทยาคลินิค, นิติเวช (พบแต่ศพ,​คนไข้คดี),​อาชีวเวช- ศาสตร์,​เวชศาสตร์การกีฬา ฯลฯ​ แต่หากดูแล้ว คุณยังมีความสุข อยู่ก็ไปพักเมื่อรู้สึกท้อ แล้วกลับมาเป็นหมอรักษาโรคกันต่อครับ

6. เบื่อคนไข้เจ็บป่วยเรื้อรัง ชอบคนไข้ป่วยไม่เกิน 7 วัน

เป็นอีกข้อที่จัดได้ว่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (significant) และเป็น character เด่นของคนที่จะมาเป็น EP เรียกว่าเป็นนิสัย ที่แก้กันได้ยาก เบื่อง่ายกับอะไรที่ดูเปลี่ยนแปลงช้า รักษาไม่ค่อย หาย เช่น การ round รดน้ำ แก้ lab (สั่ง order IV ตอนเช้า เจาะ เลือดแล้วมาดูผลตอนบ่าย แก้อะไรนิดหน่อย round เสร็จ พ้นวัน)

ถ้าคุณตอบได้ชัดว่าชอบโรค acute ก็เหลือไม่กี่งานแล้วครับ ส่วนใหญ่ก็เป็นเหตุฉุกเฉิน เพียงแต่งานส่วนใหญ่ก็ต้องมีคนไข้ chronic ควบคู่มาด้วยทั้งนั้น

7. ชอบคนไข้หลากหลาย ตัดสินใจในภาวะเร่งด่วน ไม่แน่นอน

แพทย์เฉพาะทางแบ่งการดูคนไข้ลงไปเฉพาะส่วนเช่น หู คอ จมูก ตา กระดูก ซึ่งแนวโน้มจะลงลึกไปให้ละเอียดมากขึ้น จักษุ แพทย์เองก็ยังแบ่งตาออกเป็นส่วน แยกความรับผิดชอบแพทย์แต่ ละคน เช่น cornea, lens, retina, eye muscle, neuro-ophthalmo แพทย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อแบ่งเป็น shoulder, spine,knee,hand ซึ่งอนาคตอาจแบ่งเป็นเฉพาะทางกระดูกนิ้วชี้ ข้างซ้ายเลยก็ได้ หรือการดูคนไข้เฉพาะกลุ่มเช่น กุมารแพทย์,​ สูติ-นรีแพทย์​ ดูแลพื้นที่ 1% burn (ตามกฎ rule of nine) และรับเฉพาะเพศ หญิงที่อายุ > 15 ปี ไม่วายยังแยกออกเป็นวัยรุ่น วัยทองอีก เพื่อ ตอบโจทย์ว่าแม้แต่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางสาขานั้น ยังไม่มี ใครที่จะเชี่ยวชาญไปหมดทุกเรื่อง

แต่หากคุณเบื่อกับการแบ่งแยก ซอยย่อย คนไข้ออกเป็นส่วน ไม่ชอบทำหัตถการในที่เล็กอย่างตา หู คอ จมูก ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็น Tumor, Infection, Trauma ในโพรงแคบ แนะนำให้เรียนสาขาที่ สอน โรครวม ๆ กลุ่มคนไข้ใหญ่ ๆ อย่างเช่น Family Medicine, อายุกรรม หรือ Emergency Medicine

8. อยากมีเวลาเป็นของตัวเอง

ใช่เลยครับ ถ้าคุณต้องการเวลามากขึ้น แต่ยังไม่อยากเลิก เป็นแพทย์ภาครัฐ​ อาชีพรับจ้างเงินเดือนปานกลางที่ใช้เวลา แลก เงินตอบแทน (ตรงไปตรงมาที่ว่า อยากได้เงินมากขึ้นก็ต้องอยู่เวร มากขึ้น โดยไม่สนว่าหากเราสามารถพัฒนาคุณภาพของงานให้ ดีขึ้น หรือมีภาระงานมากขึ้น ควรได้ค่าตอบแทนมากขึ้นโดยที่ไม่ ต้องใช้เวลามากขึ้นก็ได้) ค่าตอบแทนที่จ่ายเท่ากันหมดไม่ว่าทำที่ โรงพยาบาลระดับไหนของประเทศ

แนะนำให้เลือกเรียน minor ward หรือสาขาที่ไม่ต้องสัมผัส คนไข้ครับ เพราะถ้าเมื่อไรคิดจะเรียน major ward เวลาของคุณ ก็จะหายไปกับงานประจำอย่าง round ward, ออกตรวจ OPD, PCU, เข้าร่วมประชุม PCT,​ องค์กรแพทย์,​ เข้าร่วมประชุมงาน บริหาร ที่โรงพยาบาลหรือระดับจังหวัด นี่ยังไม่นับฐานะครูแพทย์ จำเป็นที่ต้องเตรียมงานสอนนักศึกษาแพทย์ในโรงพยาบาลศูนย์ ตามนโยบายเพิ่มการผลิตแพทย์ของกระทรวงอีก คงพอเห็นภาพ ว่าทำไม แพทย์ถึงไหลออกนอกระบบราชการ เพราะเมื่อออกนอก ระบบ ก็รับผิดชอบแค่งานดูแลรักษาอย่างเดียว ทำงานเป็นเวลา ใช้เวลาที่น้อยกว่าเพื่อให้ได้ค่าตอบแทนเท่ากันหรือมากกว่าใน ภาครัฐ 2 - 3 เท่า

9. ไม่ได้ชอบ rare disease

หากคุณชอบโรคที่แปลกประหลาด หายาก ชื่อยาว ๆ มีเขียน แต่ในตำราต่างประเทศเท่านั้น วิธีการตรวจวินิจฉัยก็ยาก ต้องส่ง ตรวจ specimen พิเศษเพิ่มเติมยืนยันไปยังต่างประเทศ แถมยัง รักษาไม่ค่อยได้ มีความสุขที่ได้รู้จักโรคที่พูดชื่อแล้วแพทย์ส่วน ใหญ่ ทำหน้าเอ๋อ ได้โชว์​ภูมิความรู้ สรรพวิชา ที่คุณได้ร่ำเรียนมา คุณเป็นคนพิเศษครับ อย่าเสียเวลาเรียนเรื่องทั่วไปอยู่เลยครับ แนะนำให้เรียนด้าน Genetic หรือต่อยอดแพทย์เฉพาะทางแต่ละ สาขาไปเลยครับ ไม่เหมาะกับการเรียนเป็น EP อย่างยิ่ง

10. ไม่ care กับค่าตอบแทนที่ดูน้อยจนไม่น่าเชื่อ

ในช่วงเวลาเริ่มต้นของการจัดฝึกอบรมแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ต้องเข้าใจว่าอะไร ๆ ก็ยังอาจไม่ลงตัว ยังไม่มีใครทราบหรือชี้ชัด ได้ว่า เมืองไทยต้องการแพทย์ด้านนี้ในรูปแบบใด รายละเอียด การฝึกอบรม ในแต่ละสถาบันก็ผลิตแพทย์ด้านนี้ต่างกันตามวัตถุ ดิบ ทรัพยากร จำนวน Staff คนไข้ที่มี โดยมีสมาคมเวชศาสตร์ ฉุกเฉินแห่งประเทศไทยเป็นผู้วางโครงสร้างและคอยกำกับดูแล คงต้องใช้เวลา รอพิสูจน์ผลงานของพวกเราสักพัก แพทย์ที่ทำงานในห้องฉุกเฉินเป็นคนด่านหน้า ต้องเจอเหตุ ที่เพิ่งเกิดสด ๆ ร้อน ๆ คนไข้หรือญาติที่ต้องตกในสภาพเร่งด่วน การเตรียมตัว สภาพจิตใจที่ยังไม่พร้อม และด้วยความเชื่อที่ว่า ห้องฉุกเฉินเป็นทางผ่านเข้าสู่โรงพยาบาล (อ่านรายละเอียดใน เรื่อง Belief) จึงไม่แปลกใจที่เขาจะจำเราไม่ได้ คำขอบคุณหรือ คุณความดีตกกับผู้เชี่ยวชาญที่ดูแลรักษาคนไข้อยู่ที่ Ward เพราะ ใช้เวลากับคนไข้นานกว่า ก็ไม่อยากให้น้อยใจที่ไม่ได้รับคำชม ให้ชื่นชม ภูมิใจตัวเองว่า งานของเราก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อน ไปกว่ากัน เริ่มตั้งแต่ที่เกิดเหตุ ไม่มีเราคนไข้ก็ไม่ได้รับการดูแล รักษาตั้งแต่ก่อนมาโรงพยาบาล หรือกว่าจะมาก็แย่ลงจนไปไม่ถึง Specialist ใน Ward (เพิ่ม Morbidity & Mortality) หรือให้ Specialist อื่นมาดูที่ ER ก็อาจรักษาภาวะเร่งด่วนในสาขาที่ไม่ เชี่ยวชาญไม่เป็นก็ได้ ในส่วนของค่าตอบแทนในภาครัฐ ยังต้องทำใจครับ ใช้ระบบ เดิมคือ 900 บาท / 8 ชั่วโมง เท่ากันไม่ว่าจะห้องฉุกเฉินภาครัฐ​ กระทรวงสาธารณสุขที่ไหน (บางที่ที่ได้มากกว่า ถือว่าโชคดีครับ) จ่ายราคานี้มานาน ไม่สนหรอกครับว่าจะให้ใครมาตรวจ มีฝีมือ ความรู้เท่าไร หรือภาระงานจะมากขนาดไหน คงต้องใช้เวลา สักพักเพื่อวิเคราะห์ดูว่า ถ้าใช้ EP ลงทำงาน หรือเป็นแพทย์รับ คำปรึกษา ควรให้ค่าตอบแทนเท่าไร หากคุณตอบตัวเองได้ชัดเจนแล้วว่าเหมาะกับงานด้านนี้ ยินดีต้อนรับมาเป็น สมาชิกชมรมแพทย์รักความเร่งด่วนฉุกเฉินอย่างไม่เป็นทางการด้วยกัน ครับ

Navigation