Child abuse: ตามให้ทัน คนทำเด็ก

การทารุณกรรมเด็ก หรือ child abuse ไม่ว่าจะทางร่างกาย หรือทางเพศ ควรต้องระลึกไว้เสมอ บวกกับความช่างสังเกต ใน การดูแลเด็กที่ได้รับบาดเจ็บในห้องฉุกเฉิน เพราะถ้าพลาด เด็กจะ ถูกทำร้ายซ้ำและมีโอกาสที่ครั้งต่อไปจะรุนแรงกว่าครั้งแรก บาง ครั้งอาจหมายถึงชีวิตของเด็กเลยก็ได้ แบ่ง Child abuse เป็น

1. การทารุณกรรมทางกาย (Physical abuse) การทุบตี, จับเขย่า (Shaken baby Syndrome), จับจุ่ม ราดน้ำร้อน

2. การทารุณกรรมทางเพศ (Sexual abuse)

3. การทารุณกรรมทางอารมณ์ (Emotional abuse) เช่น ดุด่า,​ เสียดสี,​ ข่มขู่, เฉยเมย

4. การละเลยทอดทิ้ง (Child neglect) เจ็บป่วยแล้วขาดการ ดูแลรักษา ไม่มีพัฒนาการตามวัย ทุโภชนาการ ขาดการ ให้การศึกษา

โดยลักษณะประวัติหรือสิ่งตรวจพบที่สงสัย ทำทารุณกรรม คือ

1. ประวัติและการบาดเจ็บที่ตรวจพบไม่สอดคล้องกัน ในแง่ของเวลา สถานที่ บาดแผลที่เกิดกับพัฒนาการเด็ก

2. ระยะเวลาตั้งแต่บาดเจ็บจนผู้ดูแลพามาพบแพทย์นาน ผู้ดูแลเด็กไม่มาพร้อมเด็กที่มารับการตรวจ

3. มีประวัติบาดเจ็บซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง

4. ผู้ดูแลดูไม่ค่อยใส่ใจหรือ ตอบสนองไม่เหมาะสมกับคำ แนะนำของแพทย์ ​เช่น ทิ้งเด็กไว้ที่โรงพยาบาล, แสดง ความกังวลหรือรักเด็กเกินเหตุ

5. จากประวัติมีเหตุการณ์ทำให้ผู้ดูแลมีอารมณ์โกรธมาก่อน

6. ประวัติเปลี่ยนไปมา แตกต่างกันระหว่างผู้ดูแลแต่ละคน หรือเล่าประวัติว่าไม่มีผู้ใดรู้รายละเอียดเหตุการณ์ที่ทำให้ เด็กบาดเจ็บ

7. ตรวจพบหลักฐานที่บ่งถึงการบาดเจ็บหลายครั้ง เช่น รอย แผลเก่า,​ กระดูกหักที่มีรอยหายแล้วจาก x ray

8. บาดเจ็บบริเวณรอบปาก,​ อวัยวะเพศ หรือทวารหนัก

9. Subdural hematoma หลายตำแหน่ง โดยเฉพาะ Fresh skull fracture

10. Retinal hemorrhage

11. ตรวจพบรอยฟกช้ำในบริเวณที่ไม่ค่อยพบ เช่น แก้ม,​ ใบหู,​ คอ,หน้าอก,หน้าท้อง,​ แผ่นหลัง,​ ก้น,​ต้นแขน ต้นขาด้านใน

12. กระดูกหักที่ตำแหน่ง metaphyseal, Acromian, กระดูก ซี่โครง,​ กะโหลกศีรษะที่แตกร้าว ห่างมากกว่า 2 มม.,​ กระดูกหักแบบ spiral fracture, กระดูก long bone หัก (ในเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี)

13. การบาดเจ็บลักษณะเฉพาะ เช่น รอยฟัน ถูกกัด (Bites), รอยถูกบุหรี่จี้ (Cigarette burn), รอยไม้แขวนเสื้อ ขดลวด, รอยเชือกรัด (Rope marks), สายไฟ

14. แผล Second, Third degree burn ที่ขอบเรียบชัดเจน เช่น เห็นเป็นเส้นขอบลักษณะคล้ายถุงมือ ถุงเท้า หรือที่ ก้น อวัยวะเพศ จากการถูกจุ่มน้ำร้อน (immersion) หน้าที่ของเราคือเมื่อพบผู้ป่วยที่สงสัย ต้องรายงานพนักงาน เจ้าหน้าที่คุ้มครองเด็ก หรือพนักงานฝ่ายปกครอง (ตาม พรบ. คุ้มครองเด็กปี 2546)

Navigation